non-B visa

non-B visa

ใบอนุญาติทำงาน หรือ work permit หมายถึง ชาวต่างชาติที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจ กิจการ หรือ ลูกจ้าง ทุกอาชีพนั้น จำเป็นต้องยื่นขอการเปลี่ยนประเภทการลงตราตามกฎหมายของราชอาณาจักรไทย ว่าด้วย ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องยื่นขอการเปลี่ยนแปลงประเภทการลงตราเป็น Non-Immigrant Visa ”B” หรือวีซ่าประเภทธุรกิจ และเมื่อทำการเปลี่ยนลงตราเรียยร้อยแล้วนั้น จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาติทำงาน หรือ work permit มิฉะนั้นจะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้ เมื่อชาวต่างชาติที่ดำเนินการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa ”B” มาแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาติทำงาน หรือ work Permit ท่านสามารถยื่นขอเองได้ทีกรมจัดหางานกระทรวงแรงงานภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่ท่านได้เดินถึงประเทศไทยแล้ว ตามกฎหมายที่ให้พำนักอยู่ได้ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง(NON-IMMIGRANT)โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน ( TOURIST/TRANSIT )ซึ่งจะอนุญาตทำงานในครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงขอใหม่ มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต ไม่เป็นบุคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั้นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะสุดท้าย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ( Work permit ) แบบคำขอ ต.ม.1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร (1 นิ้วครึ่ง) จำนวน 3 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลารอยด์ ) หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงความจำเป็นในการจ้างแรงงานต่างด้าว กรณีบริษัทผ่าน B.O.I หรือ กนอ ให้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ยื่นใช้สิทธิ์ B.O.I หรือ กนอ. พร้อมสำเนาบัตรส่งเสริม หนังสือรับรองการจ้างงาน หรือ สัญญาจ้าง สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงา ใบรับรองแพทย์ สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในกรณีที่เป็นการประกอบวิชาชีพที่กฏหมายกำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง(กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงาน )ติดอากรแสตมป์ 10

รายละเอียด

ทำสัญญาติดอากร?

revenue stamp

การติดอากรแสตมป์ในสัญญมีอัตราที่แตกต่างกันไป บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ ข้อ 2 (3) จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 3 วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน (3) สำหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทำตราสารนั้น http://www.rd.go.th/publish/3433.0.html ลักษณะแห่งตราสาร ค่าอากรแสตมป์ ผู้ที่ต้องเสียอากร ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ 1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า หมายเหตุ (1) ถ้าสัญญาเช่ามิได้กำหนดอายุการเช่าให้ถือว่ามีกำหนด 3 ปี (2) ถ้าสัญญาเช่าฉบับใดครบกำหนดอายุการเช่า หรือครบกำหนด 3 ปี ตาม (1) แล้วผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่และให้ผู้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหม่ ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทำกันใหม่ โดยไม่มีกำหนดอายุการเช่า และต้องเสียอากรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหม่นั้น ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร เช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน 1 บาท ผู้ให้เช่า ผู้เช่า   2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ก.

รายละเอียด

ภาษีมูลนิธิ

ภาษีมูลนิธิ

ขอสรุปการเสียภาษีของมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลดังนี้ครับ 1.ถ้าได้รับการประกาศและขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาว่าเป้นองค์กรสาธารณกุศล ก้อได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องจัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิเหมือนเดิม 2.ถ้าเป็นมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลธรรมดา ก้อมีหน้าที่จัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ แล้วการคำนวณภาษีจะต้องเสียอย่างไร? การทำหน้าที่รายเดือน ยื่นแบบ ภงด 3 ยื่นแบบ ภงด 53 ยื่นแบบ ภงด 1 การทำหน้าที่รายปีสิ้นสุดรอบบัญชี ปิดงบและนำส่งงบการเงินต่อกรมสรรพากรท้องที่ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภงด.55 ต่อกรมสรรพากรท้องที่ ยื่นแบบรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ อัตราภาษี มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายในอัตรา ดังนี้ (ก) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ค่าสิทธิ ค่านายหน้า เป็นต้น เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 (ข) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่น ๆ นอกเหนือจาก(ก) เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 .0 การคำนวณภาษี เมื่อมูลนิธิหรือสมาคมมีรายได้จากการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นมาคำนวณภาษี โดยคำนวณจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 10.0 หรือร้อยละ 2.0 แล้วแต่กรณี ผลที่ได้เป็นภาษีที่ต้องเสีย การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของมูลนิธิหรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีเช่นเดียวกับ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตัวอย่างการคำนวณภาษี มูลนิธิ ก. มีรายได้จากการประกอบกิจการ และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปี 2555 สมาคมมีรายได้ ดังนี้ (1) ค่าลงทะเบียน 50,000 บาท (2) เงินที่ได้รับจากการบริจาค 120,000 บาท (3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 10,000 บาท (4) รายได้จากค่านายหน้า 20,000 บาท (5) รายได้จากการขายหนังสือ 10,000

รายละเอียด

คนพื้นที่สูงขอทำงาน

คนพื้นที่สูงขอทำงาน

การขออนุญาตทำงานของคนพื้นที่สูง เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจพอสมควรเลยขอฝากไฟล์มาให้ศึกษากันก่อนนะครับ

รายละเอียด

เบี้ยปรับยื่นงบช้า

finecharge

รายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยการสรุปปิดงบการเงินตามรอบบัญชี และยื่นงบการเงิน ยื่นแบบ ภงด.50 ภายในกรอบเวลา 150 วัน กรอบเวลาการยื่นงบ งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น กรรมการบริษัทประชุมอนุมัติรับรองงบการเงินเมื่อวันที่ 19 มกราคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 17 กุมพาพันธ์ กรรมการบริษัทประชุมอนุมัติรับรองงบการเงินเมื่อวันที่ 22 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 เมษายน เบี้ยปรับยื่นงบช้าจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อไปนี้ 1.กรมสรรพากร[ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52/55 และยื่นบัญชีงบการเงิน] บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งชำระภาษี (ถ้ามี) และยื่นบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (โดยต้องยื่นเป็นประจำทุกรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม) หากยื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลาดังกล่าวต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2559 ถือเป็นความผิดสองกระทง โดยให้เปรียบเทียบกำหนดค่าปรับ ตามมาตรา 3 ทวิ(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52 กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 1,000 บาท กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา และเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 2,000 บาท มูลนิธิหรือสมาคม ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.55 กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 500 บาท กรณียื่นแบบฯ

รายละเอียด

ประเทศยกเว้นขอวีซ่า

ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่า

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2545 , 20 ธันวาคม 2545, 18 ตุลาคม 2547, 6 พฤษภาคม 2548 และ 23 มิถุนายน 2554 คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางของ 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน หมายเหตุ คนต่างด้าวที่มิใช่คนสัญชาติของประเทศดังกล่าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens) ที่ออกโดย 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และยังจำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ยกเว้นกรณีที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้ 15 วัน เว้นแต่คนมาเลเซียที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับมาเลเซีย (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้คลั้งละไม่เกิน 30 วัน คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราดังกล่าวนี้ หากประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 30 วัน ควรขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งจะได้รับอนญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 60 วัน และสามารถยื่นคำร้องขอขยายเวลาพำนักจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ด้วย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 หรือ http://www.immigration.go.th/ รายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มีดังนี้ 1. เครือรัฐออสเตรเลีย (Australia : Commonwealth of Australia) 2. สาธารณรัฐออสเตรีย (Austria : Republic of Austria) 3. ราชอาณาจักรเบลเยียม (Belgium

รายละเอียด

อาชีพห้ามต่างด้าวทำ

อาชีพที่ต่างด้าวทำได้

การกำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 **หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ทำงานได้ 10 อาชีพ ที่อนุญาตให้ต่างด้วทำได้แค่ลูกจ้าง ห้ามเป็นเจ้าของ งานกรรมกร งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น งานขายของหน้าร้าน งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย งานทำที่นอนผ้าห่มนวม งานทำรองเท้า งานทำหมวก งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา มีสองอาชีพที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะสงวนให้คนไทยทำหรือไม่ 1.งานทำมีด 2.งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ 27 อาชีพที่สงวนไว้ให้คนไทย งานแกะสลักไม้ งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ งานขายทอดตลาด งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย งานทอผ้าด้วยมือ งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ งานทำกระดาษสาด้วยมือ งานทำเครื่องเขิน งานทำเครื่องดนตรีไทย งานทำเครื่องถม งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก งานทำเครื่องลงหิน งานทำตุ๊กตาไทย งานทำบาตร งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ งานทำพระพุทธรูป งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ งานมวนบุหรี่ด้วยมือ งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว งานเร่ขายสินค้า งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี อาจมีอาชีพที่อยู่ระหว่างการเสนอให้สงวนเพิ่มเติม พนักงานรักษาความปลอดภัย นวดแผนไทย

รายละเอียด

การขอ NON-B visa

ขอวีซ่า non B

เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) ภายใต้เงื่อนไข แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(แบบ ตม.86) และแบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบ ตม.87) สำเนาหนังสือเดินทาง รูปถ่ายขนาด 4X6 cm จำนวน 1 รูป ค่าธรรมเนียม 2000 บาท หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างงานคนต่างด้าว และขอความร่วมมือในการขอรับ หรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ , ตำแหน่ง , ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยน วีซ่าจาก ผ. 30 หรือ TR เป็น NON-B) หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบของกรมการจัดหางาน) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภพ.01 ภพ.20 และ สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน สำเนางบดุลบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) ในกรณีที่ ภ.ง.ด.50(หน้า 5 บรรทัดที่ 3) ไม่ได้ระบุค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งบริษัทที่เปิดใหม่ยังไม่ครบรอบบัญชี ไม่มีงบการเงินและ ภงด.50 ให้แสดงสัญญาเช่า บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและ กองนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ) ( 02-5781056-9) สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย ( ภ.ง.ด.1)(ย้อนหลัง 3 เดือน) แสดงรูปภาพของบริษัทถ่ายให้เห็นป้ายชื่อบริษัท สภาพการทำงาน , โต๊ะทำงานภายในบริษัท หรือ อาคารซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะงาน 7-10 ภาพ แผนที่บริษัท กรณีบริษัทได้รับการสงเสริม BOI ให้แสดงหนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน , การนิคมอุตสาหกรรมหรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หากไม่มีให้แสดงหนังสืออนุมัติตำแหน่งจาก BOI หมายเหตุ เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับรองทุกแผ่นทุกหน้า เอกสารของบริษัทฯ หรือห้างฯ กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการลงนามรับรองทุกหน้าทุกแผ่นแล้วประทับตราบริษัทฯ หรือห้างฯ เป็นสำคัญ ในการยื่นเอกสารเพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา กรุณานำเอกสารมายื่นให้ครบและยื่นเอกสารฉบับจริงทุกฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบและดำเนินการ

รายละเอียด

ค่ารับรอง

entertainment expense

การบันทึกค่าใช้จ่ายค่ารับรอง หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ค่ารับรองนั้นไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์ของค่ารับรอง เป็นค่ารับรองอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีธุรกิจทั่วไป บุคคลซึ่งได้รับการรับรองต้องมิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผู้จัดการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองนั้นด้วย ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรองที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการจริง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับรอง แบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่นค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกีฬา ค่าสิ่งของ มูลค่าของค่ารับรอง ค่ารับรองตามข้อ 4(1),(2) กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนเงินว่า การรับรองในแต่ละครั้งต้องไม่เกินจำนวนเงินเท่าใด หน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า มีการรับรองจริง และจำนวนเงินที่จ่ายพอสมควรแก่การรับรองดังกล่าว ค่ารับรองตามข้อ 4(3) สิ่งของ กฎหมายจำกัดจำนวนเงินไม่เกินคนละ 2,000 บาทต่อครั้ง หากค่ารับรองไม่ถึง 2,000 บาท จะถือเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง และหากจ่ายเกิน 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ ยอดขาย งินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ข้อสังเกต : รายได้อื่น เป็นรายได้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบธุรกิจอันเป็นผลพลอยได้จากการประกอบกิจการ เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน สิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากกิจการคำนวณค่ารับรองจากยอดรายได้ รายได้ที่จะนำมาคำนวณค่ารับรองได้นั้นจะต้องหักรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน เช่น เงินปันผล รายจ่ายที่นำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรองที่กิจการได้จ่ายไปในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดรายได้ หรือยอดขาย หรือเงินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้จำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ภาษีซื้อของค่ารับรอง ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามนำไปหักออกจากภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (ุ6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร

รายละเอียด

work permit

work permit

หน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาต ทำงานของคนต่างด้าวมีดังนี้ กรมการจัดหางาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สถานกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ใช้ในกรณีขอรับใบอนุญาต ทำงานของคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายอื่น ดังนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 โดยยื่นแบบหรือติดต่อได้ที่ศูนย์บริการวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน สำนักงานจัดหางาน จังหวัดที่บริษัทตั้งอยู่ กรณีผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายอื่น ดังนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชญัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ใช้เอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ แบบคำขอ ตท.1 และรูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3×4 ซ.ม. (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนาทุกหน้า 1 ชุด และ ได้รับการตรวจลงตราตามที่กฎหมายอื่นๆ กำหนด สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน) หนังสือที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายอื่น ใช้ในกรณีขออนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่ คุณสมบัติของบุคคลต่างด้าวที่มีสิทธิขอ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง( NON-IMMIGRANT) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยงหรือผู้เดินทางผ่าน (TOURIST/TRANSIT) ซึ่งจะอนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่ มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้องรัง ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต เอกสารที่ต้องใช้ แบบรับคำขอ ตท. 1 และรูปถ่ายขนาด 3×4 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลาลอยด์) หนังสือรับรองการจ้าง ( ตามแบบที่กำหนด) สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน ( กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนัดไว้) ใบรับรองแพทย์

รายละเอียด
โทรสอบถาม