DBD&RD fine for financial statement

ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

ผู้ประกอบการอาจจะเข้าใจว่าไม่ต้องนำส่งก็ได้หรือนำส่งย้อนหลังก็ได้ จริงๆแล้วถ้าจะทำอย่างนั้นก็ได้ แต่สิ่งที่ตามมาจะโดนหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือโดนจดหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

รายละเอียด

การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม

จัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคมจัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคม

หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร(2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ(3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร(4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่(2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่(3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ) การให้บริการอื่นๆ (ไม่รวมถึงค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต) การจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งให้แก่ผู้รับเงิน

รายละเอียด

หาราคาก่อนภาษี

หาราคาก่อนภาษี

ในทุกวันนี้ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมักจะตั้งแง่ การรับเงินได้ แบบไม่ยอมให้หักภาษี หรือไม่ยอมให้บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะด้วยเหตุผลประการใดก้อตาม ในฐาณะผู้ประกอบการก้อควรจะมีทางออกในเรื่องดังกล่าว

รายละเอียด

Facebook ads tax

ภาษี ภพ.36

เนื่องจากเงินได้ค่าโฆษณา ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(80) จึงไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ โดยที่ผู้ให้บริการไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทยแต่มีการใช้บริการนั้นในประเทศ ค่าโฆษณาให้ Facebook, Google ซึ่งอยู่ที่ต่างประเทศ แต่เป็นการโฆษณาในประเทศไทย ถือว่าใช้บริการในประเทศไทย ผู้จ่ายต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภพ 36 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปนับจากเดือนที่มีการจ่ายค่าโฆษณาไป

รายละเอียด

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภธ.40

ยื่นภาษีธุรกิจเฉพาะอย่างไร

ทำธุรกิจจัดสรรที่ดินหรือปลูกสร้างบ้านพร้อมที่ดินขาย จำเป็นต้องทำความเข้าใจการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ

รายละเอียด

เบี้ยปรับเงินเพิ่มค่าปรับอาญา

เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม-ค่าปรับอาญา เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกำหนดเวลา เบี้ยปรับเงินเพิ่มค่าปรับอาญาจะถูกคำนวณหลายรูปแบบ

รายละเอียด

ทำสัญญาติดอากร?

revenue stamp

การติดอากรแสตมป์ในสัญญมีอัตราที่แตกต่างกันไป บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ ข้อ 2 (3) จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 3 วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน (3) สำหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทำตราสารนั้น http://www.rd.go.th/publish/3433.0.html ลักษณะแห่งตราสาร ค่าอากรแสตมป์ ผู้ที่ต้องเสียอากร ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ 1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า หมายเหตุ (1) ถ้าสัญญาเช่ามิได้กำหนดอายุการเช่าให้ถือว่ามีกำหนด 3 ปี (2) ถ้าสัญญาเช่าฉบับใดครบกำหนดอายุการเช่า หรือครบกำหนด 3 ปี ตาม (1) แล้วผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่และให้ผู้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหม่ ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทำกันใหม่ โดยไม่มีกำหนดอายุการเช่า และต้องเสียอากรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหม่นั้น ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร เช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน 1 บาท ผู้ให้เช่า ผู้เช่า   2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ก.

รายละเอียด
โทรสอบถาม