คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีอากรสำหรับกิจการร้านทองเฉพาะกรณีโอนกิจการทั้งหมดจากบุคคลธรรมดาเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อให้การจัดทำบัญชีและการเสียภาษีอากรเป็นไปอย่างมีระบบ ถูกต้องครบถ้วน และเป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มธุรกิจ ดูรายละเอียด

รายละเอียด

เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542 1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป 2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว     1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 1.1 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ    750 ภาษีที่ต้องชำระ    250 เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 250 X 1.5% ต่อเดือน เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) 250 X 2 เท่า 1.2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ    1,750 ภาษีที่ต้องชำระ    0 ภาษีที่ชำระไว้เกิน    (750) เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 ไม่มี เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) ไม่มี 2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด 2.1 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ แบบ ภ.พ. 30 ความถูกต้อง ผลต่าง ภาษีขาย (บาท) 1,000 1,600 600 ขายขาด ภาษีซื้อ    750

รายละเอียด

อัตราภาษีบุคคลธรรมดา2559

personal income tax

ประกาศล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2559 ขยายระยะเวลาอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก 1 ปี ในรอบเงินได้ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2559  

รายละเอียด

สินทรัพย์

สินทรัพย์

การจัดประเภทของสินทรัพย์ แม่บทการบัญชีในเรื่องวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถประเมินผลการบริหาร เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การแสดงรายการสินทรัพย์ และหนี้สินหมุนเวียน จะต้องชัดเจนในงบการเงินแยกออกจากรายการไม่หมุนเวียน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในรอบระยะเวลาดำเนินงานปัจจุบัน และหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายในรอบระยะเวลาเดียวกัน มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้คำว่า “ไม่หมุนเวียน” รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงานที่มีลักษณะระยะยาว แต่มิได้ห้ามให้ใช้คำศัพท์อื่นแทนคำว่า “ไม่หมุนเวียน” หากคำศัพท์ดังกล่าวไม่ทำให้ความหมายที่กล่าวมาแล้วเสียไป สินทรัพย์หมุนเวียน รวมถึง ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือที่มีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามปกติ แม้ว่ากิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หนี้สินหมุนเวียน สามารถจัดประเภทได้ทำนองเดียวกันกับสินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินบางชนิดถึงแม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล แต่ก็ควรจัดเป็นรายการหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เนื่องจาก ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในรอบระยะเวลาดำเนินการปกติของกิจการ หนี้สินบางชนิดมิได้ชำระให้หมดไปในระหว่างรอบดำเนินงาน หากแต่จะถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล ก็ให้ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เช่น หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินปันผลค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่น ๆ สำหรับหนี้สินระยะยาวที่ยังไม่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนซึ่งกิจการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะยาว ให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน นอกจากนั้นกิจการต้องจัดประเภทหนี้สินระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนในกรณีเข้าข่าย 3 ข้อดังนี้ 1.เงื่อนไขการชำระหนี้เดิมมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน 2. กิจการมีความประสงค์ที่จะชำระหนี้โดยการก่อหนี้ระยะยาวใหม่ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ 3.มีหลักฐานสนับสนุนในรูปของสัญญาชำระหนี้โดยการก่อหนี้ใหม่ การต่ออายุหนี้ การปรับกำหนดการชำระหนี้ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่งบการเงินจะได้รับการอนุมัติ สัญญากู้ยืมบางสัญญามีเงื่อนไขที่มีผลทำให้กิจการต้องชำระคืนเงินกู้ทันทีเมื่อทวงถามหากฐานะการเงินของกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ กิจการจะแสดงหนี้สินนั้นเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนได้ต่อเมื่อ 1.ผู้ให้กู้ตกลงยินยอมที่จะไม่เรียกคืนเงินกู้แม้ว่ากิจการจะผิดเงื่อนไขตามสัญญา การยินยอมนั้นต้องทำก่อนที่งบการเงินจะได้รับอนุมัติ 2.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะไม่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล การแสดงรายการในงบการเงิน ปกติการแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบการเงินจะลำดับตามสภาพคล่อง โดยเริ่มจากรายการเงินสด หรือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้คล่องที่สุด ถ้าหากเงินสด และเงินฝากธนาคารมีข้อจำกัดในการใช้ ให้แสดงเป็นรายการแยกต่างหาก หรือเปิดเผยข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เงินลงทุนชั่นคราวที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี ถ้าเงินฝากธนาคารมีกำหนดเกิน 1 ปี ให้แสดงไว้ในรายการเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมอื่น ๆ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไม่หมุนเวียน เงินฝากที่อยู่ในรูปตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย

รายละเอียด

วางระบบบัญชี

วางระบบบัญชี

ขั้นตอนการวางระบบบัญชี วางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ ว่ามีการเดินทางไปแหล่งที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มออกเอกสารจน สิ้นสุดกระบวนการไม่ว่จะเป็น ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือการออกเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จ. รายละเอียดของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้ทรัพย์สิน การจัดซื้อหรือการคิดค่าเสื่อมราคา ฉ. ข้อมูลทางการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการตลาด การกำหนดขั้นตอนในการจำหน่าย การจ่ายค่านายหน้า หรือค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย แนวทางการประชาสัมพันธ์ ช. รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงิน การตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนด การชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้น วงเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชี การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี ก. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อ การพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี ค. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย-รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจอสอบ และควบคุมภายในได้เป็อย่างดี ง. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึง ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร จ. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายละเอียด

บัญชี

บัญชี

วงจรบัญชี คือลำดับขั้นตองในกระบวนการทำบัญชีงบการเงินตั้งแต่เริ่มต้นในการทำบัญชีไปจนสิ้นสุดของการทำบัญชี วงจรบัญชีเป็นการแสดงถึงขั้นตองการบัญชีตั้งแต่การเริ่มบันทึกรายการค้าไปจนถึงการได้งบการเงินเป็นรายงานออกมาเป็นไปตามรอบระยะบัญชีที่ทางกิจการได้กำหนดไว้ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการของวงจรบัญชีนั้นจะมีอยู่ 9 ขั้นตอนด้วยกันหากผู้ที่ต้องการทำบัญชีแล้วการศึกษาวงจรบัญชีจะทำให้เข้าใจการขั้นตอนได้ง่ายและนำไปสู่การเรียนรู้ของการทำบัญชีให้ประสบผลสำเร็จสำหรับขั้นตอนการบัญชีหรือวงจรการบัญชีมีทั้งหมด 9 ขั้นตอนดังนี้ 1. จดบันทึกรายการค้า 2. บันทึกในสมุดบัญชีขั้นตอนหรือว่าสมุดรายวันขั้นต้น 3. สมุดบัญชีแยกประเภท 4. การทำงบทดลอง 5. ปรับปรุงบัญชีในกระดาษทำการ 6. การจัดทำงบการเงิน 7. ปรับปรุงรายการบัญชี 8. การปิดบัญชีขั้นต้น 9. จำทำงบทดลองหรือว่าเปิดรายการบัญชี ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้ ขั้นตอนการปิดบัญชี 1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) 3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ 4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม 5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ 5.1 งบแสดงฐานะการเงิน 5.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย 5.3 งบกระแสเงินสด 5.4 งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น 5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6. การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป

รายละเอียด

ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ

ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ

ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ กระแสเงินสด cash flow กระแสเงินสดเข้า cash inflow กระแสเงินสดออก cash outflow กระดาษทำการสอบบัญชี audit working papers กลุ่มหลักทรัพย์ security portfolio กองทุน fund กองทุนจม sinking fund กองทุนบำเหน็จ บำนาญ pension fund กองทุนพันธบัตร boud fund กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ provident fund ก่อนหักรายจ่าย gross การเช่า leasing การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี accounting change การเปิดเผยข้อมูล disclosure การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง private offering, การเสนอขายหลักทรัพย์แบบทั่วไป public offering การแปลงสภาพ conversion การแยกหุ้นทุน stock split การแลกเปลี่ยน barter การแลกเปลี่ยนเช็ค exchange cheque การแลกเปลี่ยนหนี้ต่างสกุลเงินกัน currency seap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ของสกุลเงินเดียวกัน single currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยต่างสกุลเงิน cross currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง basis swap การโอนสิทธิ assignment การใช้บัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกัน assigned accounts receivable การกำหนดมูลค่าทางการบัญชี accounting valuation การขายผ่อนส่ง installment sale การควบกิจการ business combination การควบกิจการ merger การควบคุมโดยใช้งบประมาณดำเนินงาน budgetary control การควบคุมจำนวนการผลิต production control การควบคุมทางการบัญชี

รายละเอียด
โทรสอบถาม