SET หรือย่อมาจาก Stocl Exchange of Thailand ตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศไทยที่เราทุกคนรู้จักกันดี MAI หรือย่อมาจาก Market for Alternative Investment เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย SET และ MAI ต่างทำหน้าที่เป็นตลาดทุนเหมือนกัน ช่วยให้บริษัทต่างๆระดมทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้เหมือนกัน แต่…. SET และ MAI ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างที่เราควรทำความเข้าใจ SET เน้นไปที่บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งมีทุนชำระแล้ว หลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป MAI เน้นไปที่กิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้ว หลัง IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตดี มีศักยภาพ *** IPO หรือย่อมากจาก Initial Public Offering เป็นการระดมเงินทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์โดยการขายหุ้น ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนมาตรฐานของบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก SET รองรับเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีทุนชำระแล้วขั้นต่ำ 300 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น MAI รองรับธุรกิจได้ทุกขนาด เพราะไม่มีการจำกัดทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นสูง SET รับเฉพาะบริษัทที่มีกำไรสุทธิในระยะเวลา 2-3 ปี ล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน > 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ ต้องมีกำไรสุทธิ > 30 ล้านบาท MAI ขอเพียงแค่มีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ > 10 ล้านบาท SET ต้องมีผลการดำเนินงาน > 3 ปี ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน MAI กำหนดระยะเวลาในการประกอบธุรกิจต่อเนื่องที่สั้นกว่า ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน เพียง > 2 ปี SET สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อย โดยมีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 1,000 ราย (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) MAI สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อยได้ > 300
Category: การบริหาร
“Agile” คืออะไร?
การประยุกต์ใช้ Agile ต้องอาศัยมุมมอง และวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ของผู้บริหาร เพราะเป็นแนวคิดที่เน้นให้เกิดงานแบบทีมเล็กๆ ที่แข็งแกร่ง อาจไม่เหมาะกับองค์กรใหญ่ที่มีทีม และแบ่งเป็นแผนกๆ ใหญ่ๆ ก็เป็นได้
ค่ารับรอง
การบันทึกค่าใช้จ่ายค่ารับรอง หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ค่ารับรองนั้นไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์ของค่ารับรอง เป็นค่ารับรองอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีธุรกิจทั่วไป บุคคลซึ่งได้รับการรับรองต้องมิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผู้จัดการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองนั้นด้วย ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรองที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการจริง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับรอง แบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่นค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกีฬา ค่าสิ่งของ มูลค่าของค่ารับรอง ค่ารับรองตามข้อ 4(1),(2) กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนเงินว่า การรับรองในแต่ละครั้งต้องไม่เกินจำนวนเงินเท่าใด หน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า มีการรับรองจริง และจำนวนเงินที่จ่ายพอสมควรแก่การรับรองดังกล่าว ค่ารับรองตามข้อ 4(3) สิ่งของ กฎหมายจำกัดจำนวนเงินไม่เกินคนละ 2,000 บาทต่อครั้ง หากค่ารับรองไม่ถึง 2,000 บาท จะถือเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง และหากจ่ายเกิน 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ ยอดขาย งินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ข้อสังเกต : รายได้อื่น เป็นรายได้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบธุรกิจอันเป็นผลพลอยได้จากการประกอบกิจการ เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน สิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากกิจการคำนวณค่ารับรองจากยอดรายได้ รายได้ที่จะนำมาคำนวณค่ารับรองได้นั้นจะต้องหักรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน เช่น เงินปันผล รายจ่ายที่นำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรองที่กิจการได้จ่ายไปในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดรายได้ หรือยอดขาย หรือเงินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้จำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ภาษีซื้อของค่ารับรอง ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามนำไปหักออกจากภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (ุ6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร