ด้วยเหตุผลที่มีเงินทุนเกินกว่าความจำเป็นจึงจะ
ลดทุนเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้ถือหุ้น หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือกิจการมีขาดทุนสะสมอยู่ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จึงลดทุน
มาล้างขาดทุนสะสมซึ่งกรณีนี้จะไม่มีเงินคืนผู้ถือหุ้น
Author: L@moon
กรรมการกู้เงินธนาคารมาใช้ในกิจการ
เมื่อบริษัทขาดสภาพคล่อง หรือ เงินทุนหมุนเวียนไม่พอใช้จ่ายผู้ถือหุ้นก้อไม่อยากเพิ่มทุน กรรมการจำเป็นต้องใช้เครดิตส่วนบุคคลกู้เงินจากสถาบันการเงิน เงินต้นและภาระดอกเบี้ยสามารถนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการได้ โดยต้องดำเนินการเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องมาประกอบให้ถูกต้องดังนี้ รายงานการประชุมที่ลงมติเห็นชอบให้กรรมการกู้ยืมเงินมาเป็นทุนสำรองหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในกิจการ ระบุยอดเงิน และอัตราดอกเบี้ยและกำหนดระยะเวลาชำระคืน ระหว่างกรรมการกับบริษัทฯ ให้นำหลักฐานการได้รับเงินกู้ยืม ระหว่างธนาคารกับกรรมการ หลักฐาน(สลิป) การนำเงินกู้ยืมที่ได้รับจากธนาคาร เข้าบัญชีบริษัทฯ หลักฐานการชำระคืนเงินกู้รายเดือนที่ชำระให้สถาบันการเงิน
ย้ายผู้ดูแลบัญชี
ก่อนอื่นกรรมการต้องเข้าใจผลกระทบก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ตามรายการดังนี้ ต้องรู้ว่าควรจะทำช่วงไหน อย่าใช้อารมณ์ความไม่ถูกใจ หรือไม่พอใจเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ แนะนำให้ปิดงบในปีที่ต้องการย้ายให้เร็วที่สุด และยื่นงบให้เรียบร้อย กรอบเวลาที่ดีที่สุดแนะนำให้ยื่นงบภายใน มกราคม สำหรับรอบบัญชีกิจการ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ที่เป็นรอบบัญชีปกติทั่วไป แจ้งขอข้อมูลและเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชีล่วงหน้า เพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อยทั้งหมด หากไม่ได้รับความร่วมมือ หรือมีความเสียหายด้านเอกสารให้ดำเนินการให้เรียบร้อยในเรื่องรับรองสำเนา หรือการแจ้งเอกสารสูญหาย รายการเอกสารที่ขอคืนทั้งหมดต้องเป็นตัวต้นฉบับ หากไม่มีต้องขอคัดมาให้เรียบร้อย ตรงนี้ต้องกำหนดกรอบเวลากับทางสำนักงานบัญชีเดิมให้ชัดเจน ขอข้อมูลการบันทึกบัญชีทั้งหมดในรูปแบบ soft file, text file(database) ตรงนี้น่าจะเป็นสัญญาหรือข้อตกลงการให้บริการที่ควรจะมีก่อนเปิดบริการ ต้องเตรียมใจไว้ด้วยว่าทางสำนักงานบัญชีเดิมจะให้ความร่วมมือมากน้อยแตกต่างกันไป 🙄 กิจการต้องขอข้อมูลการบันทึกบัญชีดังรายการต่อไปนี้ งบทดลอง,งบการเงิน บัญชีแยกประเภท ( GL) สมุดรายวันเฉพาะและทั่วไป เช่น สมุดรายวันซื้อ,ขาย,รับเงิน,จ่ายเงิน ทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนลูกหนี้ , เจ้าหนี้ รายงานสต๊อคสินค้า รายละเอียดประกอบงบการเงินที่มียอดคงเหลือของสินทรัพย์และหนี้สิน กิจการต้องขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีดังรายการต่อไปนี้ บิลซื้อขาย และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เคยส่งให้สำนักงานบัญชี แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จรับเงินภาษีที่ยื่นชำระแล้ว ( เช่น ภ.ง.ด.1, 3, 40,53,55 ภ.พ.30 ภ.ง.ด.50,51) แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน ต้นฉบับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าได้หักไว้ สำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่กิจการได้หักลูกค้าไว้ (ทำ ภ.ง.ด.1, 3, 53) Bank Statement ทุกธนาคารของกิจการ เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
Finance&Leasing
การเช่าซื้อหรือการลีสซิ่งรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญในการบริหารงานดำเนินธุรกิจ
ตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI แตกต่างกันอย่างไร?
SET หรือย่อมาจาก Stocl Exchange of Thailand ตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศไทยที่เราทุกคนรู้จักกันดี MAI หรือย่อมาจาก Market for Alternative Investment เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย SET และ MAI ต่างทำหน้าที่เป็นตลาดทุนเหมือนกัน ช่วยให้บริษัทต่างๆระดมทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้เหมือนกัน แต่…. SET และ MAI ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่างที่เราควรทำความเข้าใจ SET เน้นไปที่บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งมีทุนชำระแล้ว หลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป MAI เน้นไปที่กิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้ว หลัง IPO ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตดี มีศักยภาพ *** IPO หรือย่อมากจาก Initial Public Offering เป็นการระดมเงินทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์โดยการขายหุ้น ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนมาตรฐานของบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก SET รองรับเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีทุนชำระแล้วขั้นต่ำ 300 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น MAI รองรับธุรกิจได้ทุกขนาด เพราะไม่มีการจำกัดทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นสูง SET รับเฉพาะบริษัทที่มีกำไรสุทธิในระยะเวลา 2-3 ปี ล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน > 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ ต้องมีกำไรสุทธิ > 30 ล้านบาท MAI ขอเพียงแค่มีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ > 10 ล้านบาท SET ต้องมีผลการดำเนินงาน > 3 ปี ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน MAI กำหนดระยะเวลาในการประกอบธุรกิจต่อเนื่องที่สั้นกว่า ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน เพียง > 2 ปี SET สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อย โดยมีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 1,000 ราย (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน) MAI สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อยได้ > 300
นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ MAI
เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของกรรมการตาม พรบ.หลักทรัพย์ฯ จัดโครงสร้างธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อลดโอกาสที่อาจจะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และดำเนินงานอย่างโปร่งใสให้ตรวจสอบได้ เตรียมระบบควบคุมภายในที่ดี เช่น การมอบอำนาจเพื่อดำเนินการต่างๆ เตรียมระบบบัญชี ความพร้อมงบการเงิน จัดทำตามมาตรฐานบัญชี ให้ความร่วมมือกับ FA และ Auditor และ Pre-consult ประเด็นต่างๆ ก่อนยื่น IPO
ภาษีบริษัทปี 2564
อัตราภาษีนิติบุคคลไทย ประจำปี 2564 ที่กรมสรรพากรประกาศใช้
การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม
หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร(2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ(3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร(4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่(2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่(3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ) การให้บริการอื่นๆ (ไม่รวมถึงค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต) การจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งให้แก่ผู้รับเงิน
ค่ารับรอง
ค่ารับรองต้องนำไปใช้กับบุคคลอื่นที่จะเกี่ยวข้องกับทางธุรกิจและจำเป็นทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยกเว้นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย รับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น ค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร
ภาษีบริษัทปี 2563
อัตราภาษีนิติบุคคลไทย ประจำปี 2563 ที่กรมสรรพากรประกาศใช้