รวมบทความที่พระเถระและพระอริยสงฆ์ กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระองค์ทรงมีกระแสจิตแรงมาก ฉันเองยังสู้ท่านไม่ได้ เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ (ในหลวง) ปรารถนามานาน แต่เวลานี้บารมีเป็น “ปรมัตถบารมี” เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็น “วิริยาธิกะ” ต้องบำเพ็ญถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป นี่เกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว “แสนกัป” อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ” หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง “นี้รูปพระเจ้าแผนดิน เก็บดีๆ แด้นั้น เอาไว้ในห้องพระ กราบไหว้บูชา พระพุทธเจ้านะนั้น” พระครูภาวนาภิรัต วิ. (หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ “ก็มีแต่คนไม่ฉลาดเท่านั้นแหละ ถึงไม่รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีดีอะไร” พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุด หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยองค์เองทีเดียวว่า “ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม เคยเป็นช้างนาฬาคิริง ส่วนในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นช้างป่าเลไลยก์นะ…!!!” (ช้างป่าเลไลยก์คือพระโพธิสัตว์) หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ “วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ” หลวงพ่อพุธ ฐานิโย “หากไม่มีในหลวง พระพุทธศาสนาก็ตั้งอยู่ไม่ได้” หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ “พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย…” หลวงปู่แหวน สุจิณโณ “ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ…” ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต “…การดูหมิ่นในหลวง ก็คือโค่นชาติบ้านเมือง เพราะนี่คือหัวใจของชาติ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย…โลกอยู่ได้ด้วยของดี คนดี ไม่ใช่อยู่ได้ด้วยของชั่ว คนชั่ว… ในหลวงเป็นคนดีมากที่สุด เราหาได้ที่ไหนในเมืองไทยเรานี้ พระองค์เสด็จนู้นเสด็จนี้ เราก็เห็นไม่ใช่เหรอ ไม่ได้หยุดเลย
จดสมาคม
ให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.1 ณ กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล 2 สำนักงานตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับในกรุงเทพมหานคร หรือที่ว่าการอำเภอ/ที่ว่าการกิ่งอำเภอ สำหรับในจังหวัด พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด ข้อบังคับของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่จะเป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 10 คน รายชื่อ ที่อยู่และอาชีพของผู้ที่จะป็นกรรมการของสมาคม รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม ทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม เอกสารรับรองสำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนา ทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นสมาชิกและผู้จะเป็นกรรมการสมาคม เอกสารรับรองอื่นๆ ตามแต่ละหน่วยงานที่ต้องการเพิ่มเติม การขอจดทะเบียนสมาคมดังกล่าว หากมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับจิตใจ ระเบียบประเพณี ศิลปกรรม วรรณกรรม และวัฒนธรรมฝ่ายหญิงหรือสตรี ให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแนบสำเนา หรือภาพถ่ายใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ตามกฏหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติพร้อมกับการยื่นคำขอด้วย การขอจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม ให้สมาคมยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.2 ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ลงมติ พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด 1. รายงานการประชุมของที่ประชุมใหญ่ที่มีมติให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม 2. ข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่าและข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่ 3. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับของสมาคมฉบับเก่า และข้อบังคับของสมาคมฉบับใหม่ 4. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคมและหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งของสมาคม ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง สถานที่ตั้ง การขอจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ให้สมาคมยื่นคำขอตามแบบ ส.ค.3 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ ของสมาคม พร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน 3 ชุด รายงานการประชุมของสมาคม ที่มีมติให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปล กรรมการของสมาคม ข้อบังคับของสมาคม รายชื่อกรรมการเก่าและรายชื่อกรรมการใหม่ สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และภาพถ่ายสำเนา ทะเบียนบ้านของกรรมการใหม่ อัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสมาคม 1. ค่าจดทะเบียนสมาคม 2000 บาท 2. ค่าจดทะเบียนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมหรือค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของ สมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมบางส่วน ครั้งละ 200 บาท 3.
จดสมาคมการค้า
ลักษณะของสมาคมการค้า สมาคมการค้า คือ สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าหรือ อุตสาหกรรม หรือการเงิน หรือทางการประมง หรือทางเกษตรกรรม หรือธุรกิจอื่นใดในทางเศรษฐกิจร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ อันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน การจัดตั้งสมาคมการค้า มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ 1. ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจประเภทเดียวกัน หรือ วิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกัน ร่วมกันจัดตั้งสมาคมการค้า โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทเดียวกันนั้น 2.ผู้เริ่มก่อการ กรอกแบบคำขออนุญาตจัดตั้งสมาคมการค้า (ส.ห.1) ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแนบ เอกสารประกอบดังต่อไปนี้ 2.1 รายการขออนุญาตและจดทะเบียน (แบบ ส.ห.2) 2.2 หนังสือรับรองความประพฤติของผู้เริ่มก่อการจัดตั้ง (แบบ ส.ห.3) 2.3 ข้อบังคับ 2.4 หลักฐานการเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจของผู้เริ่มก่อการจัดตั้ง 2.5 สำเนาหนังสือแสดงสิทธิการใช้สถานที่จัดตั้ง 2.6 แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปพร้อมรูปถ่าย 2.7 หนังสือมอบอำนาจ ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งยื่นคำขออนุญาตและเอกสารประกอบจำนวน1 ชุด โดยผู้เริ่มก่อการทุกคนต้อง ลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ยื่นคำขอ (1) หรือ (2) 3.เมื่อตรวจสอบคำขอและเอกสารประกอบแล้วถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดนายทะเบียนจะสั่งอนุญาตและออกใบอนุญาตพร้อมทั้งจดทะเบียนสมาคมการค้า 4. สมาคมการค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้า จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิ และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ.2509 กำหนดไว้ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะได้ดำเนินการเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สถานที่ยื่นคำขอ การยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียนสมาคมการค้า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ (1) กรณีสำนักงานของสมาคมการค้าตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ ส่วนจดทะเบียนสมาคม การค้าและหอการค้า สำนักทะเบียนธุรกิจ ต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่วนจดทะเบียนสมาคมการค้าและหอการค้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (2) กรณีสำนักงานของสมาคมการค้า ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดในจังหวัดที่สำนักงานของสมาคมการค้าตั้งอยู่ ค่าธรรมเนียม การขออนุญาตจัดตั้งและจดทะเบียนสมาคมการค้า ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราดังต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตสมาคมการค้า ฉบับละ 400 บาท (2) การจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ
Public charity organization
“รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในประเทศไทย เช่น การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และหมายความรวมถึง รายจ่ายเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมหรือปลูกจิตสำนึกต่อสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพือการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 มูลนิธิที่ประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การ หรือสถานสาธารณกุศลจะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลัง ชื่อมูลนิธิจะต้องไม่เป็นชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้า มูลนิธิจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะในประเทศไทยเท่านั้น และจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งที่จะให้ประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินงานของมูลนิธิต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และไม่มีการดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีการใช้ชื่อมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว กรมสรรพากรจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของมูลนิธินั้นก่อน เช่น งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว โดยจะตรวจสอบย้อนหลังหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าปรากฏดังต่อไปนี้ จะไม่ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล 6.1 รายได้ของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา หรือรายได้เฉพาะดอกผลของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ดอกผลในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา กรณีตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นำดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเก็บสะสมรายได้ เพื่อดำเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ 6.2 รายได้ของมูลนิธิจะต้องมิใช่เป็นการได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้น เกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นำรายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น 6.3 รายจ่ายของมูลนิธิเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 65 ของรายจ่ายทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา 6.4 รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิต้องกระจายเป็นการทั่วไป มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ครบ 1 ปี จะไม่พิจารณาประกาศให้ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มิได้มีฐานะเป็นมูลนิธิจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิจะพิจารณาประกาศให้เป็นรายๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกัน หรือตามที่เห็นสมควร มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 จะไม่ประกาศให้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพิจารณาเห็นสมควร
จดมูลนิธิ
จัดตั้งมูลนิธิเกี่ยวข้องกับกฏหมายกระทรวงไหนบ้าง กฎหมายที่ให้อำนาจการอนุญาต หรือที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2557 กฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการและการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 กฎกระทรวง ว่าด้วยค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับมูลนิธิ พ.ศ. 2545 เอกสาร/หลักฐานที่ใช้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ได้กำหนดให้มูลนิธิ ต้องมีข้อบังคับและต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ การก่อตั้งมูลนิธิ ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลมารวมกันปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรทำมูลนิธิ รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน ข้อบังคับของมูลนิธิ คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ ของเจ้าของทรัพย์สิน(๑) ที่มีผลตามกฎหมาย สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตาม(๑) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรมนั้น สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ส่วนราชการออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (๑) และ (๒) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี) หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี) หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 ส่วนที่ 3 กำหนดให้การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. มีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนไม่ต่ำกว่าที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ ดังนี้ มูลนิธิต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไมน้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัยและเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐ ต้องมีทุนทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท 2. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน 3. มีข้อบังคับเป็นแนวปฏิบัติและต้องไม่ขัดกับกฎหมาย 4. ต้องมีการจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
Fake Tax Invoice
ในฐาณะผู้ประกอบการSME เล็กๆรายหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับกรณีใบกำกับภาษีปลอมที่กำลังแพร่ระบาดอย่างน่ากลัว เราต้องย้ำกับผู้ดูแลบัญชีของเราด้วยว่า อย่าละเลยกับการ ตรวจสอบสถานะVATของบิลคู่ค้า ที่นำมาบันทึกรายการภาษีซื้อ-ขายของเราอย่างต่อเนื่อง เพราะเราจะไม่รู้ว่าวันใดวันหนึ่งกิจการของคู่ค้าเราจะเกิดปัญหาในกิจการหรือไม่ เช่น คู่ค้าทำผิดกฎหมายออกเอกสารใบกำกับภาษีปลอม หรือถูกถอดสิทธิออกจากผู้ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปก่อนหน้านั้นแล้วแต่ยังมาออกเอกสารต่อหลังจากถูกถอดสิทธิ คู่ค้าที่ยังมีสิทธิเป็นผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าที่ต้องการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดาวน์โหลดดูคู่มือตรวจใบกำกับภาษีปลอมได้ที่นี่เลยครับ
Excise license
Ask for Excise license for selling alcohol cigarette cards Biz type ordinary person commercial registration juristic person corporate commercial business Documents Require Download Form and full fill Request official form สยพ.1 Copy ID card/passport of biz owner Copy of company or biz registration certify Letter of Authority in case of biz owner assign to representative Letter of consent to use the unified trading place. ขั้นตอนการขออนุญาติและเอกสารที่ต้องเตรียม ดาวน์โหลดและกรอกแบบฟอร์มการขอนุญาติแบบ สยพ.1 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ขอใบอนุญาติ สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการการค้าในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาติเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่าและหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ให้เช่าด้วย สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาหนังสือรับรอง การจดทะเบียนพาณิชย์ ถ้าผู้ขออนุญาติมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ใช้หลักฐานที่ยื่นขอปกติดังกล่าว ทำหนังสือมอบอำนาจและติดอากร 10 บาท หรือ 30 บาทกรณีขออนุญาตเกิน 1 ประเภท สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ มาลองดูค่าธรรมเนียมที่ไปค้นหามาให้มีดังนี้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย สุรา ยาสูบ และไพ่ ขายสุราประเภทที่ 1 ขายส่ง สุราทุกชนิด ปีละ 8,250 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย สุรา ยาสูบ และไพ่
Admin AC services
วันนี้ได้มีโอกาสเจอลูกค้าที่หน้าห้องน้ำของปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง เขาถามผมว่าเราจะเช็คได้อย่างไรว่า บริษัท ที่ทำบัญชีให้เราเขานำส่งภาษีให้เราถูกต้องตรงเวลาตามที่เราส่งหรือไม่? 😉 ผมก้อสรุปแนวทางคร่าวๆกลับไปให้เขาตามนี้ครับง่ายๆ… ให้แจ้งขอสำเนาหลักฐานใบเสร็จ(กรณียื่นผ่านเคาเตอร์หน่วยงาน)หรือหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบอิเลคทรอนิกจากผู้รับผิดชอบการให้บริการทางบัญชีของท่าน หลักฐานใบเสร็จที่สามารถขอผู้ให้บริการจัดส่งรายงานกลับมาได้มีดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ภาษีเงินเดือนพนักงาน ภงด.1ก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (นิติบุคคล) ภงด.53 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (บุคคลธรรมดา) ภงด.3 รายการนำส่งประกันสังคม กรณีที่ให้ตัวแทนบริการนำส่งแทนท่าน ขอ user & password ที่ใช้ยื่นแบบผ่านอินเทอเน็ต จากสำนักงานบัญชีหรือหากไม่มีก้อให้ขอจากกรมสรรพากร แล้วเข้าไปดูรายละเอียดที่ลิ้งค์นี้ครับ ตรวจสอบการยื่นแบบภาษ๊ ครับเมื่อได้มาแล้วก้อตรวจดูรายละเอียดในสำเนาใบเสร็จทุกฉบับว่าวัน-เวลา-ยอดเงิน-ชื่อผู้ชำระภาษี-เลขทะเบียนธุรกิจหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีถูกต้องไหม แค่นี้ก้อชัดแล้วนะครับว่าผู้รับผิดชอบดูแลบัญชีของท่านทำงานให้ท่านคุ้มค่าบริการไหม?
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากทำธุรกิจแล้วไม่ได้ทำความเข้าใจไว้อาจจะเกิดความเสียหายต่อระบบกระแสเงินหมุนเวียนของธุรกิจได้ง่ายๆ ผมจะย่อบทสรุปมาให้ดังนี้ครับ กรณีแรก: กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือพูดง่ายๆว่า ค่อยจ่ายหรือรอก่อน สูตรคำนวน: ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = ยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ x 1.5 % ต่อเดือนของยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ + 2 เท่ายอดเงินก่อนเบี้ยปรับ+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😳 หากจะเปรียบให้เห็นเป็นตัวเลขสมมติง่ายๆดังนี้ ภาษีบิลขายทั้งหมดในเดือน 7,500 บาท ภาษีบิลซื้อทั้งหมดในเดือน 1,250 บาท ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = 7,500 – 1,250 เท่ากับ 6,250 บาทคือ ยอดเงินภาษี หากท่านปล่อยเวลาไปจ่ายเดือนถัดไปสมมติว่าหนึ่งเดือน 🙄 ยอดที่ปรากฎตอนที่นำส่งสรรพากรจะถูกคำนวณตามสูตรข้างบนนี้เลย ยอดเงินภาษี x 1.5 % ต่อเดือน(เรียกว่าเงินเพิ่ม)+ 2 เท่ายอดเงินภาษี (เรียกว่าเบี้ยปรับ)+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😈 นั่นก้อคือ = 6250×1.5%+2×6250+500 ผลที่ออกมาคือ = 93.75 + 12500 + 500 เท่ากับต้องจ่ายทั้งหมดคือ 13,093.75 บาท กรณีที่สอง: กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อเลยกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม กรณีแรก. ไปแล้ว ต่อมาตกหล่นต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือสรรพากรประเมินตรวจสอบพบความผิด แบ่งย่อยเป็นกรณีที่ 1 คำนวนภาษีซื้อเกินหรือภาษีขายขาดไป ผลรวมทั้งสองรายการเรียกเป็น ตัวเลขคลาดเคลื่อน สูตรคำนวน:เงินเพิ่มภาษีที่ต้องนำส่ง ยอดที่ 1 คือ = 1.5 % ต่อเดือนของยอดตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 2 เท่าของตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อเกิน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อขาด ยอดที่
E-certificate service
ปัจจุบันการให้บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลและรับรองสำเนาเอกสารผ่านธนาคารมีหลายธนาคารที่สามารถให้บริการคัดเอกสารสำคํญของนิติบุคคลแทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาติ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้บางสาขา ธนาคารกรุงเทพฯ ออกได้บางสาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกได้เฉเพาะสาขารัชโยธิน ธนาคารมิตซูโฮ ออกได้เฉพาะสาขากรุงเทพฯเท่านั้น