ปัจจุบันการให้บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลและรับรองสำเนาเอกสารผ่านธนาคารมีหลายธนาคารที่สามารถให้บริการคัดเอกสารสำคํญของนิติบุคคลแทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาติ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้บางสาขา ธนาคารกรุงเทพฯ ออกได้บางสาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกได้เฉเพาะสาขารัชโยธิน ธนาคารมิตซูโฮ ออกได้เฉพาะสาขากรุงเทพฯเท่านั้น
Category: news
news & business info เรื่องน่ารู้การทำธุรกิจ
คู่มือเริ่มต้นธุรกิจ
เป็นคู่มือที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าทำมาเผยแพร่ เลยเอามาแชร์ต่อให้อ่านกันครับ
ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ
ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ กระแสเงินสด cash flow กระแสเงินสดเข้า cash inflow กระแสเงินสดออก cash outflow กระดาษทำการสอบบัญชี audit working papers กลุ่มหลักทรัพย์ security portfolio กองทุน fund กองทุนจม sinking fund กองทุนบำเหน็จ บำนาญ pension fund กองทุนพันธบัตร boud fund กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ provident fund ก่อนหักรายจ่าย gross การเช่า leasing การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี accounting change การเปิดเผยข้อมูล disclosure การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง private offering, การเสนอขายหลักทรัพย์แบบทั่วไป public offering การแปลงสภาพ conversion การแยกหุ้นทุน stock split การแลกเปลี่ยน barter การแลกเปลี่ยนเช็ค exchange cheque การแลกเปลี่ยนหนี้ต่างสกุลเงินกัน currency seap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ของสกุลเงินเดียวกัน single currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยต่างสกุลเงิน cross currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง basis swap การโอนสิทธิ assignment การใช้บัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกัน assigned accounts receivable การกำหนดมูลค่าทางการบัญชี accounting valuation การขายผ่อนส่ง installment sale การควบกิจการ business combination การควบกิจการ merger การควบคุมโดยใช้งบประมาณดำเนินงาน budgetary control การควบคุมจำนวนการผลิต production control การควบคุมทางการบัญชี
หนังสือรับรอง
Certified document English language. หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองภาษาอังกฤษของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เปิดบัญชีธนาคาร
การเปิดบัญชีธนาคารของนิติบุคคล เมื่อจดจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อย จัดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสักหน่อย แต่ก้อพอจะมีวิธีแนะนำให้เป็นแนวคร่าวๆดังนี้ครับ ก่อนอื่นท่านต้องรู้ว่ากิจการของท่านเป็นนิติบุคคลแบบไหน? เอกสารส่วนของบริษัทท่านที่ต้องเตรียม รายงานการประชุมโดยกรรมการผู้ถือหุ้นที่แสดงมติให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร เอกสารแสดงตัวตนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม และของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย *และที่สำคัญต้องนำตราประทับของนิติบุคคลติดไปด้วยที่ธนาคาร* หนังสือรับรอง (ไม่เกิน 1 เดือน) หนังสือข้อบังคับ (หากนิติบุคคลนั้นมีข้อบังคับ) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รายการจดทะเบียน (บอจ.3) แสดงตัวอย่างตราประทับของนิติบุคคลและรายการแก้ไขเพิ่มเติม (บอจ.4) *หากมีการแก้ไขตราประทับ* บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี & ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) ครับโดยทั่วไปก้อประมาณนี้แหละครับสำหรับบริษัทจำกัด แต่หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก้อจะใช้หนังสือจดทะเบียนจัดตั้ง/ใบอนุญาตจัดตั้งหรืออื่นๆ แทนหนังสือรับรอง ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้สำหรับธนาคารกสิกรไทย
สำนักงานทะเบียนธุรกิจ
สำนักงานทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร ที่สามารถเข้าใช้บริการได้ หน่วยงาน ที่ตั้งปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-1, 67 , 69 FAX. 0 2446 8191 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7253,55,56,59,66 FAX. 0 2276 7263 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น G เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทร.0 2348
ศัพท์ทะเบียนธุรกิจ
รวมคำศัพท์สำหรับงานทะเบียนธุรกิจที่ เจ้าของกิจการควรทราบและทำความเข้าใจ
ขอเครื่องหมาย มอก
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดบังคับ หรือไม่บังคับ ต้องศึกษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจ ซึ่งรายการมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และหนังสือมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆ สามารถหาซื้อไดที่สำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม – ผลิต ภันฑ์ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก จะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตควรทำการทดสอบเบื้องต้นตามวิธีการมาตรฐาน เมื่อแน่ใจว่าผ่านแล้วจึงดำเนินการ ขอใช้ตรา ม.อ.ก ผู้ผลิตสามารถจัดการทดสอบเบื้องต้นเอง (บุคลากร + เครื่องมือทดสอบ + วิธีการทดสอบ พร้อม) หรืออาจใช้บริการหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบที่มีความสามารถตามมาตรฐานนั้นๆ (ดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรมในหมวดการรับรองห้อง ปฏิบัติการ www.tisi.go.th ) – นอกจากผลิตภันฑ์ต้องผ่านการทดสอบแล้ว สถานที่ผลิต ขบวนการการผลิต จะต้องถูกตรวจสอบด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อตรวจระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตรวจรับวัตถุดิบ ⇒การจัดเก็บวัตถุดิบ⇒ขั้นตอนการผลิต⇒การควบคุมการผลิต⇒การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต⇒การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ⇒การบรรจุภัณฑ์ การอบรมบุคลากร การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต