Public charity organization

Public charity organization

“รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในประเทศไทย เช่น การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และหมายความรวมถึง รายจ่ายเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมหรือปลูกจิตสำนึกต่อสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพือการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 มูลนิธิที่ประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การ หรือสถานสาธารณกุศลจะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลัง ชื่อมูลนิธิจะต้องไม่เป็นชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้า มูลนิธิจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะในประเทศไทยเท่านั้น และจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งที่จะให้ประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินงานของมูลนิธิต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และไม่มีการดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีการใช้ชื่อมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว กรมสรรพากรจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของมูลนิธินั้นก่อน เช่น งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว โดยจะตรวจสอบย้อนหลังหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าปรากฏดังต่อไปนี้ จะไม่ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล 6.1 รายได้ของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา หรือรายได้เฉพาะดอกผลของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ดอกผลในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา กรณีตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นำดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเก็บสะสมรายได้ เพื่อดำเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ 6.2 รายได้ของมูลนิธิจะต้องมิใช่เป็นการได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้น เกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นำรายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น 6.3 รายจ่ายของมูลนิธิเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 65 ของรายจ่ายทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา 6.4 รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิต้องกระจายเป็นการทั่วไป มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ครบ 1 ปี จะไม่พิจารณาประกาศให้ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มิได้มีฐานะเป็นมูลนิธิจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิจะพิจารณาประกาศให้เป็นรายๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกัน หรือตามที่เห็นสมควร มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 จะไม่ประกาศให้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพิจารณาเห็นสมควร

รายละเอียด

Fake Tax Invoice

Fake Tax Invoice

ในฐาณะผู้ประกอบการSME เล็กๆรายหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับกรณีใบกำกับภาษีปลอมที่กำลังแพร่ระบาดอย่างน่ากลัว เราต้องย้ำกับผู้ดูแลบัญชีของเราด้วยว่า อย่าละเลยกับการ ตรวจสอบสถานะVATของบิลคู่ค้า ที่นำมาบันทึกรายการภาษีซื้อ-ขายของเราอย่างต่อเนื่อง เพราะเราจะไม่รู้ว่าวันใดวันหนึ่งกิจการของคู่ค้าเราจะเกิดปัญหาในกิจการหรือไม่ เช่น คู่ค้าทำผิดกฎหมายออกเอกสารใบกำกับภาษีปลอม หรือถูกถอดสิทธิออกจากผู้ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปก่อนหน้านั้นแล้วแต่ยังมาออกเอกสารต่อหลังจากถูกถอดสิทธิ คู่ค้าที่ยังมีสิทธิเป็นผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าที่ต้องการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดาวน์โหลดดูคู่มือตรวจใบกำกับภาษีปลอมได้ที่นี่เลยครับ

รายละเอียด

Excise license

Excise license

Ask for Excise license for selling alcohol cigarette cards Biz type ordinary person commercial registration juristic person corporate commercial business Documents Require Download Form and full fill Request official form สยพ.1 Copy ID card/passport of biz owner Copy of company or biz registration certify Letter of Authority in case of biz owner assign to representative Letter of consent to use the unified trading place. ขั้นตอนการขออนุญาติและเอกสารที่ต้องเตรียม ดาวน์โหลดและกรอกแบบฟอร์มการขอนุญาติแบบ สยพ.1 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ขอใบอนุญาติ สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการการค้าในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาติเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่าและหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ให้เช่าด้วย สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาหนังสือรับรอง การจดทะเบียนพาณิชย์ ถ้าผู้ขออนุญาติมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน ใช้หลักฐานที่ยื่นขอปกติดังกล่าว ทำหนังสือมอบอำนาจและติดอากร 10 บาท หรือ 30 บาทกรณีขออนุญาตเกิน 1 ประเภท สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ มาลองดูค่าธรรมเนียมที่ไปค้นหามาให้มีดังนี้ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย สุรา ยาสูบ และไพ่ ขายสุราประเภทที่ 1 ขายส่ง สุราทุกชนิด ปีละ 8,250 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขาย สุรา ยาสูบ และไพ่

รายละเอียด

Admin AC services

Admin AC services

วันนี้ได้มีโอกาสเจอลูกค้าที่หน้าห้องน้ำของปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง เขาถามผมว่าเราจะเช็คได้อย่างไรว่า บริษัท ที่ทำบัญชีให้เราเขานำส่งภาษีให้เราถูกต้องตรงเวลาตามที่เราส่งหรือไม่?  😉 ผมก้อสรุปแนวทางคร่าวๆกลับไปให้เขาตามนี้ครับง่ายๆ… ให้แจ้งขอสำเนาหลักฐานใบเสร็จ(กรณียื่นผ่านเคาเตอร์หน่วยงาน)หรือหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบอิเลคทรอนิกจากผู้รับผิดชอบการให้บริการทางบัญชีของท่าน หลักฐานใบเสร็จที่สามารถขอผู้ให้บริการจัดส่งรายงานกลับมาได้มีดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ภาษีเงินเดือนพนักงาน ภงด.1ก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (นิติบุคคล) ภงด.53 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (บุคคลธรรมดา) ภงด.3 รายการนำส่งประกันสังคม กรณีที่ให้ตัวแทนบริการนำส่งแทนท่าน ขอ user & password ที่ใช้ยื่นแบบผ่านอินเทอเน็ต จากสำนักงานบัญชีหรือหากไม่มีก้อให้ขอจากกรมสรรพากร แล้วเข้าไปดูรายละเอียดที่ลิ้งค์นี้ครับ ตรวจสอบการยื่นแบบภาษ๊ ครับเมื่อได้มาแล้วก้อตรวจดูรายละเอียดในสำเนาใบเสร็จทุกฉบับว่าวัน-เวลา-ยอดเงิน-ชื่อผู้ชำระภาษี-เลขทะเบียนธุรกิจหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีถูกต้องไหม แค่นี้ก้อชัดแล้วนะครับว่าผู้รับผิดชอบดูแลบัญชีของท่านทำงานให้ท่านคุ้มค่าบริการไหม?

รายละเอียด

เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากทำธุรกิจแล้วไม่ได้ทำความเข้าใจไว้อาจจะเกิดความเสียหายต่อระบบกระแสเงินหมุนเวียนของธุรกิจได้ง่ายๆ ผมจะย่อบทสรุปมาให้ดังนี้ครับ กรณีแรก: กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือพูดง่ายๆว่า ค่อยจ่ายหรือรอก่อน สูตรคำนวน: ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = ยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ x 1.5 % ต่อเดือนของยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ + 2 เท่ายอดเงินก่อนเบี้ยปรับ+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😳 หากจะเปรียบให้เห็นเป็นตัวเลขสมมติง่ายๆดังนี้ ภาษีบิลขายทั้งหมดในเดือน 7,500 บาท ภาษีบิลซื้อทั้งหมดในเดือน 1,250 บาท ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = 7,500 – 1,250 เท่ากับ 6,250 บาทคือ ยอดเงินภาษี หากท่านปล่อยเวลาไปจ่ายเดือนถัดไปสมมติว่าหนึ่งเดือน 🙄 ยอดที่ปรากฎตอนที่นำส่งสรรพากรจะถูกคำนวณตามสูตรข้างบนนี้เลย ยอดเงินภาษี x 1.5 % ต่อเดือน(เรียกว่าเงินเพิ่ม)+ 2 เท่ายอดเงินภาษี (เรียกว่าเบี้ยปรับ)+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😈 นั่นก้อคือ = 6250×1.5%+2×6250+500 ผลที่ออกมาคือ = 93.75 + 12500 + 500 เท่ากับต้องจ่ายทั้งหมดคือ 13,093.75 บาท กรณีที่สอง: กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อเลยกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม กรณีแรก. ไปแล้ว ต่อมาตกหล่นต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือสรรพากรประเมินตรวจสอบพบความผิด แบ่งย่อยเป็นกรณีที่ 1 คำนวนภาษีซื้อเกินหรือภาษีขายขาดไป ผลรวมทั้งสองรายการเรียกเป็น ตัวเลขคลาดเคลื่อน สูตรคำนวน:เงินเพิ่มภาษีที่ต้องนำส่ง ยอดที่ 1 คือ = 1.5 % ต่อเดือนของยอดตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 2 เท่าของตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อเกิน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อขาด ยอดที่

รายละเอียด

E-certificate service

E-certificate service

ปัจจุบันการให้บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลและรับรองสำเนาเอกสารผ่านธนาคารมีหลายธนาคารที่สามารถให้บริการคัดเอกสารสำคํญของนิติบุคคลแทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาติ ธนาคารที่สามารถออก E-certificate ได้บางสาขา ธนาคารกรุงเทพฯ ออกได้บางสาขา ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกได้เฉเพาะสาขารัชโยธิน ธนาคารมิตซูโฮ ออกได้เฉพาะสาขากรุงเทพฯเท่านั้น

รายละเอียด

คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีอากรสำหรับกิจการร้านทองเฉพาะกรณีโอนกิจการทั้งหมดจากบุคคลธรรมดาเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อให้การจัดทำบัญชีและการเสียภาษีอากรเป็นไปอย่างมีระบบ ถูกต้องครบถ้วน และเป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มธุรกิจ ดูรายละเอียด

รายละเอียด

เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542 1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป 2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว     1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 1.1 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ    750 ภาษีที่ต้องชำระ    250 เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 250 X 1.5% ต่อเดือน เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) 250 X 2 เท่า 1.2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ    1,750 ภาษีที่ต้องชำระ    0 ภาษีที่ชำระไว้เกิน    (750) เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 ไม่มี เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) ไม่มี 2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด 2.1 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ แบบ ภ.พ. 30 ความถูกต้อง ผลต่าง ภาษีขาย (บาท) 1,000 1,600 600 ขายขาด ภาษีซื้อ    750

รายละเอียด
โทรสอบถาม