DBD&RD fine for financial statement

ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

ผู้ประกอบการอาจจะเข้าใจว่าไม่ต้องนำส่งก็ได้หรือนำส่งย้อนหลังก็ได้ จริงๆแล้วถ้าจะทำอย่างนั้นก็ได้ แต่สิ่งที่ตามมาจะโดนหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือโดนจดหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

รายละเอียด

ประเทศยกเว้นขอวีซ่า

ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่า

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2545 , 20 ธันวาคม 2545, 18 ตุลาคม 2547, 6 พฤษภาคม 2548 และ 23 มิถุนายน 2554 คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางของ 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน หมายเหตุ คนต่างด้าวที่มิใช่คนสัญชาติของประเทศดังกล่าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens) ที่ออกโดย 48 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตรา และยังจำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จะได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ยกเว้นกรณีที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้ 15 วัน เว้นแต่คนมาเลเซียที่เดินทางเข้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มีเขตติดต่อกับมาเลเซีย (ด่านพรมแดนทางบก) จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ได้คลั้งละไม่เกิน 30 วัน คนต่างด้าวที่เดินทางมาประเทศไทยโดยได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตราดังกล่าวนี้ หากประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 30 วัน ควรขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยวจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งจะได้รับอนญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 60 วัน และสามารถยื่นคำร้องขอขยายเวลาพำนักจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ด้วย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 หรือ http://www.immigration.go.th/ รายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว มีดังนี้ 1. เครือรัฐออสเตรเลีย (Australia : Commonwealth of Australia) 2. สาธารณรัฐออสเตรีย (Austria : Republic of Austria) 3. ราชอาณาจักรเบลเยียม (Belgium

รายละเอียด

อาชีพห้ามต่างด้าวทำ

อาชีพที่ต่างด้าวทำได้

การกำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 **หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) ทำงานได้ 10 อาชีพ ที่อนุญาตให้ต่างด้วทำได้แค่ลูกจ้าง ห้ามเป็นเจ้าของ งานกรรมกร งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น งานขายของหน้าร้าน งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย งานทำที่นอนผ้าห่มนวม งานทำรองเท้า งานทำหมวก งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา มีสองอาชีพที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะสงวนให้คนไทยทำหรือไม่ 1.งานทำมีด 2.งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ 27 อาชีพที่สงวนไว้ให้คนไทย งานแกะสลักไม้ งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ งานขายทอดตลาด งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย งานทอผ้าด้วยมือ งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่ งานทำกระดาษสาด้วยมือ งานทำเครื่องเขิน งานทำเครื่องดนตรีไทย งานทำเครื่องถม งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก งานทำเครื่องลงหิน งานทำตุ๊กตาไทย งานทำบาตร งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ งานทำพระพุทธรูป งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ งานมวนบุหรี่ด้วยมือ งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว งานเร่ขายสินค้า งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี อาจมีอาชีพที่อยู่ระหว่างการเสนอให้สงวนเพิ่มเติม พนักงานรักษาความปลอดภัย นวดแผนไทย

รายละเอียด

การขอ NON-B visa

ขอวีซ่า non B

เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) ภายใต้เงื่อนไข แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา(แบบ ตม.86) และแบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา(แบบ ตม.87) สำเนาหนังสือเดินทาง รูปถ่ายขนาด 4X6 cm จำนวน 1 รูป ค่าธรรมเนียม 2000 บาท หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างงานคนต่างด้าว และขอความร่วมมือในการขอรับ หรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ , ตำแหน่ง , ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยน วีซ่าจาก ผ. 30 หรือ TR เป็น NON-B) หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบของกรมการจัดหางาน) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภพ.01 ภพ.20 และ สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน สำเนางบดุลบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) (ถ้าไม่มีให้ชี้แจง) ในกรณีที่ ภ.ง.ด.50(หน้า 5 บรรทัดที่ 3) ไม่ได้ระบุค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งบริษัทที่เปิดใหม่ยังไม่ครบรอบบัญชี ไม่มีงบการเงินและ ภงด.50 ให้แสดงสัญญาเช่า บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและ กองนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ) ( 02-5781056-9) สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย ( ภ.ง.ด.1)(ย้อนหลัง 3 เดือน) แสดงรูปภาพของบริษัทถ่ายให้เห็นป้ายชื่อบริษัท สภาพการทำงาน , โต๊ะทำงานภายในบริษัท หรือ อาคารซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะงาน 7-10 ภาพ แผนที่บริษัท กรณีบริษัทได้รับการสงเสริม BOI ให้แสดงหนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน , การนิคมอุตสาหกรรมหรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หากไม่มีให้แสดงหนังสืออนุมัติตำแหน่งจาก BOI หมายเหตุ เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับรองทุกแผ่นทุกหน้า เอกสารของบริษัทฯ หรือห้างฯ กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการลงนามรับรองทุกหน้าทุกแผ่นแล้วประทับตราบริษัทฯ หรือห้างฯ เป็นสำคัญ ในการยื่นเอกสารเพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา กรุณานำเอกสารมายื่นให้ครบและยื่นเอกสารฉบับจริงทุกฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบและดำเนินการ

รายละเอียด

รับโอนเงินต่างประเทศ

การรับโอนเงินจากต่างประเทศ

มีโอกาสได้หารือเรื่องนี้เพราะเดี๋ยวนี้มีการลงทุนและร่วมทุนระหว่างประเทศมากขึ้นพอจะได้ข้อสรุปโดยย่อดังนี้ ฝั่งขารับเงินโอน ต้องแสดงที่มาที่ไประหว่างผู้โอนมากับผู้รับหากเป็นเงินจำนวนที่เกิน 50,000 US$ กรอกแบบฟอร์มที่แต่ละธนาคารกำหนด ดูตัวอย่างที่นี่ ค่าธรรมเนียมฝั่งขารับโอน 0.25% ของยอดเงิน ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาทต่อรายการ อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้น ณ วันนั้นๆ ผู้ที่ต้องการใช้บริการต้องติดต่อแจ้งธนาคารสาขาที่มีบัญชี นั้นๆไว้ล่วงหน้า ธนาคารอาจเรียกเอกสารเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม 3-5 วันทำการก่อนอนุมัติให้ถอนรับเงินโอนได้ ฝั่งขาโอนออก แนะนำให้ใช้ธนาคารเดียวกันกับฝั่งรับโอน ควรตรวจสองเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมให้ชัดเจน เอกสารประกอบเหตุผลการโอนเงินออก ที่ต้องเตรียมจากฝั่งผู้รับโอนให้ชัดเจน หมายเหตุ: การโอนเงินข้ามประเทศจะอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนสากล ควรศึกษาข้อมูลในด้านนี้ประกอบด้วย

รายละเอียด

ต่างชาติกับกรรมสิทธิ์

กรรมสิทธิ์ต่างด้วถือครองอสังหาริมทรัพย์

การถือครองอสังหาริมทรัพย์คนต่างชาติที่จะสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจหรือการลงทุนที่สอดคล้องตามกฎหมาย นักลงทุนสามารถที่จะถือครองที่ดินได้ หากได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI)หรือกรณีดำเนินธุรกิจ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็สามารถมีสิทธิถือครองที่ดินได้ หรือการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเช่าได้ไม่เกิน 30 ปี หรือการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ.2542 ซึ่งสามารถเช่าได้ไม่เกิน 50 ปี ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มิใช่อาคารชุด คนต่างชาติสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2545 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ 1.นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี 2.ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3.ต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ 3.1 การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตธรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นหรือดอกเบี้ย 3.2 การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3.3 การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3.4 การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 4.ที่ดินที่คนต่างชาติจะได้มาต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณกำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร 5.คนต่างชาติผู้ได้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองและครอบครัวโดยไม่ขัดต่อศีลธรรม จารีตประเพณี หรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น 6.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าว กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะต้องจำหน่ายที่ดินในส่วนที่ตนมีสิทธิภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น 7.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามนัยดังกล่าวไม่ได้ใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนการได้มา อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น นอกจากกรณีดังกล่าว คนต่างชาติอาจได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยได้รับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมได้ โดยที่ดินได้รับมรดกเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยมีได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรมไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน10 ไร่ ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่ เป็นต้น สำหรับคนต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทยไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่เป็นคนสัญชาติไทยสามารถซื้อที่ดินได้โดยผู้ซื้อและคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติจะต้องยืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ซื้อที่มีสัญชาติไทย มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติสำหรับกรณีซึ่งมิใช่อาคารชุด ต้องมีเงื่อนไขผูกพันกับเรื่องของการลงทุนเป็นหลัก หากกรณีเป็นการเช่าโดยทั่วไป ก็สามารถเช่าตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ไม่เกิน 30 ปี สำหรับการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมปี 2542 ซึ่งเป็นการเช่าที่มีระยะเวลาเกินกว่า 30 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี ก็มิได้ครอบคลุมถึงเช่าเพื่อการอยู่อาศัย แต่หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้ครอบคลุมถึงการเช่าเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน50 ปีด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อคนต่างชาติและคนไทยในเรื่องระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 30

รายละเอียด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

มีเกณฑ์ให้พิจารณา 2 ข้อครับ ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ คำถามแรกที่เราต้องถามก็คือ ประเภทการประกอบธุรกิจของเรานั้นได้รับสิทธิยกเวันภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับสิทธิยกเว้นก็แปลว่าไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่ไม่ได้ตัดสิทธิในการขอขึนทะเบียน ธุรกิจเรามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ คำถามต่อมาก็คือ ถ้าหากเราไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แล้วธุรกิจของเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ในระหว่างรอบบัญชีที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก้อาต้องรีบขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไปครับ [su_shadow style=”right”][su_panel shadow=”none”]กรมสรรพากรขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะส่งผลทำให้ภาพรวมของการบริโภคและ การลงทุนของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงยิ่งขึ้น นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การขยายเวลา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดิมร้อยละ 7 ดังกล่าวข้างต้นกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 โดยให้ยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ส่วนการที่ระบุว่าเป็นการลดอัตราภาษีลงมานั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 9 และภาษีท้องถิ่น ร้อยละ 1) จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงมาที่อัตราร้อยละ 7 รวมภาษี ท้องถิ่นดังกล่าว[/su_panel][/su_shadow] ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ส านักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ.2560

รายละเอียด

เตรียมตัวทำหนังสือเดินทาง

ลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า

ทุกวันนี้เราสามารถจองคิวทำหนังสือเดินทางได้แล้วและประหยัดเวลาในการรอคอยด้วยการใช้ ลงทะเบียนรับบริการหนังสือเดินทาง การลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า คือบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการทำหนังสือเดินทางซึ่งเป็นบริการออนไลน์ 24 ชั่วโมงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีบริการดังนี้ แสดงสถิติการทำหนังสือเดินทางย้อนหลัง 5 วัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวันที่จะมาใช้บริการ แสดงจำนวนคิว ณ เวลาปัจจุบันของแต่ละสาขาและประมาณเวลาที่จะได้รับบริการทำหนังสือเดินทาง แสดงที่ตั้งสำนักงานหนังสือเดินทาง เส้นทาง และเวลาในการเดินทางไปยังสำนักงานหนังสือเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถจองคิวและลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางได้ล่วงหน้า และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้จนถึง 23:00 น. ของวันก่อนวันขอรับบริการหนังสือเดินทาง สามารถกำหนดวิธีการรับเล่มหนังสือเดินทางได้ด้วยตัวเอง สามารถตรวจสอบสถานะของหนังสือเดินทางที่ได้ยื่นขอไว้ได้ทุกสำนักงานฯ วิธีลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทาง เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนของท่านจะถูกยกเลิก กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเองและเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น ท่านต้องเตรียมเอกสาร – หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร – หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทางเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2) วิธีการลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทางล่วงหน้า ลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางแบบธรรมดาhttps://www.passport.in.th/eService/

รายละเอียด

พระเสด็จสู่สวรรคาลัย

พระเสด็จสู่สวรรคาลัย

รวมบทความที่พระเถระและพระอริยสงฆ์ กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระองค์ทรงมีกระแสจิตแรงมาก ฉันเองยังสู้ท่านไม่ได้ เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ (ในหลวง) ปรารถนามานาน แต่เวลานี้บารมีเป็น “ปรมัตถบารมี” เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็น “วิริยาธิกะ” ต้องบำเพ็ญถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป นี่เกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว “แสนกัป” อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ” หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง “นี้รูปพระเจ้าแผนดิน เก็บดีๆ แด้นั้น เอาไว้ในห้องพระ กราบไหว้บูชา พระพุทธเจ้านะนั้น” พระครูภาวนาภิรัต วิ. (หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ “ก็มีแต่คนไม่ฉลาดเท่านั้นแหละ ถึงไม่รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีดีอะไร” พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุด หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยองค์เองทีเดียวว่า “ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม เคยเป็นช้างนาฬาคิริง ส่วนในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นช้างป่าเลไลยก์นะ…!!!” (ช้างป่าเลไลยก์คือพระโพธิสัตว์) หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ “วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ” หลวงพ่อพุธ ฐานิโย “หากไม่มีในหลวง พระพุทธศาสนาก็ตั้งอยู่ไม่ได้” หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ “พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย…” หลวงปู่แหวน สุจิณโณ “ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ…” ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต “…การดูหมิ่นในหลวง ก็คือโค่นชาติบ้านเมือง เพราะนี่คือหัวใจของชาติ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย…โลกอยู่ได้ด้วยของดี คนดี ไม่ใช่อยู่ได้ด้วยของชั่ว คนชั่ว… ในหลวงเป็นคนดีมากที่สุด เราหาได้ที่ไหนในเมืองไทยเรานี้ พระองค์เสด็จนู้นเสด็จนี้ เราก็เห็นไม่ใช่เหรอ ไม่ได้หยุดเลย

รายละเอียด

Public charity organization

Public charity organization

“รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ” หมายความว่า รายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะในประเทศไทย เช่น การสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และหมายความรวมถึง รายจ่ายเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมหรือปลูกจิตสำนึกต่อสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพื่อการกีฬา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 44) เรื่อง กำหนดรายจ่ายเพื่อการสาธารณประโยชน์ รายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายเพือการกีฬา ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2535 มูลนิธิที่ประสงค์จะขอให้พิจารณาประกาศเป็นองค์การ หรือสถานสาธารณกุศลจะต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อพิจารณาเสนอกระทรวงการคลัง ชื่อมูลนิธิจะต้องไม่เป็นชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้า มูลนิธิจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะในประเทศไทยเท่านั้น และจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งที่จะให้ประโยชน์เฉพาะแก่บุคคล คณะบุคคล หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินงานของมูลนิธิต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และไม่มีการดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว และไม่มีการใช้ชื่อมูลนิธิเพื่อหาประโยชน์ส่วนตัว กรมสรรพากรจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของมูลนิธินั้นก่อน เช่น งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว โดยจะตรวจสอบย้อนหลังหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าปรากฏดังต่อไปนี้ จะไม่ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล 6.1 รายได้ของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา หรือรายได้เฉพาะดอกผลของมูลนิธิได้นำไปเป็นรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ดอกผลในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา กรณีตราสารจัดตั้งระบุว่า ให้นำดอกผลมาเป็นรายจ่ายเท่านั้น เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเก็บสะสมรายได้ เพื่อดำเนินการตามโครงการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ 6.2 รายได้ของมูลนิธิจะต้องมิใช่เป็นการได้มาจากการซื้อขายหรือการให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนเป็นปกติธุระ เว้นแต่การซื้อขายหรือการให้บริการนั้น เกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษา การสถานพยาบาล หรือการสังคมสงเคราะห์ และไม่นำรายได้ดังกล่าวไปจ่ายในทางอื่น 6.3 รายจ่ายของมูลนิธิเป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะน้อยกว่าร้อยละ 65 ของรายจ่ายทั้งสิ้นในหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วมา 6.4 รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะของมูลนิธิต้องกระจายเป็นการทั่วไป มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ครบ 1 ปี จะไม่พิจารณาประกาศให้ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่มิได้มีฐานะเป็นมูลนิธิจะไม่พิจารณาประกาศให้ เว้นแต่จะมีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานเช่นเดียวกับมูลนิธิจะพิจารณาประกาศให้เป็นรายๆ ไป ในหลักเกณฑ์เดียวกัน หรือตามที่เห็นสมควร มูลนิธิ องค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล หรือสถานศึกษาใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 8 จะไม่ประกาศให้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะพิจารณาเห็นสมควร

รายละเอียด
โทรสอบถาม