ค่ารับรอง

entertainment expense

การบันทึกค่าใช้จ่ายค่ารับรอง หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ค่ารับรองนั้นไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร

หลักเกณฑ์ของค่ารับรอง

    1. เป็นค่ารับรองอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีธุรกิจทั่วไป
    2. บุคคลซึ่งได้รับการรับรองต้องมิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผู้จัดการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองนั้นด้วย
    3. ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรองที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการจริง
    4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับรอง แบ่งออกเป็น
      • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรง
      • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่นค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกีฬา
      • ค่าสิ่งของ
    5. มูลค่าของค่ารับรอง

ค่ารับรองตามข้อ 4(1),(2) กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนเงินว่า การรับรองในแต่ละครั้งต้องไม่เกินจำนวนเงินเท่าใด หน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า มีการรับรองจริง และจำนวนเงินที่จ่ายพอสมควรแก่การรับรองดังกล่าว

ค่ารับรองตามข้อ 4(3) สิ่งของ กฎหมายจำกัดจำนวนเงินไม่เกินคนละ 2,000 บาทต่อครั้ง หากค่ารับรองไม่ถึง 2,000 บาท จะถือเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง และหากจ่ายเกิน 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

    1. ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ ยอดขาย งินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ข้อสังเกต : รายได้อื่น เป็นรายได้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบธุรกิจอันเป็นผลพลอยได้จากการประกอบกิจการ เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน

สิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากกิจการคำนวณค่ารับรองจากยอดรายได้ รายได้ที่จะนำมาคำนวณค่ารับรองได้นั้นจะต้องหักรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน เช่น เงินปันผล

    1. รายจ่ายที่นำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

ค่ารับรองที่กิจการได้จ่ายไปในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดรายได้ หรือยอดขาย หรือเงินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้จำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

ภาษีซื้อของค่ารับรอง

ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามนำไปหักออกจากภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (ุ6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร

โทรสอบถาม