ประกาศล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2559 ขยายระยะเวลาอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก 1 ปี ในรอบเงินได้ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2559
Category: Resources
Resources – รวมสาระน่ารู้สำหรับ SME
สินทรัพย์
การจัดประเภทของสินทรัพย์ แม่บทการบัญชีในเรื่องวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถประเมินผลการบริหาร เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การแสดงรายการสินทรัพย์ และหนี้สินหมุนเวียน จะต้องชัดเจนในงบการเงินแยกออกจากรายการไม่หมุนเวียน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในรอบระยะเวลาดำเนินงานปัจจุบัน และหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายในรอบระยะเวลาเดียวกัน มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้คำว่า “ไม่หมุนเวียน” รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงานที่มีลักษณะระยะยาว แต่มิได้ห้ามให้ใช้คำศัพท์อื่นแทนคำว่า “ไม่หมุนเวียน” หากคำศัพท์ดังกล่าวไม่ทำให้ความหมายที่กล่าวมาแล้วเสียไป สินทรัพย์หมุนเวียน รวมถึง ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือที่มีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามปกติ แม้ว่ากิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หนี้สินหมุนเวียน สามารถจัดประเภทได้ทำนองเดียวกันกับสินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินบางชนิดถึงแม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล แต่ก็ควรจัดเป็นรายการหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เนื่องจาก ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในรอบระยะเวลาดำเนินการปกติของกิจการ หนี้สินบางชนิดมิได้ชำระให้หมดไปในระหว่างรอบดำเนินงาน หากแต่จะถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล ก็ให้ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เช่น หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินปันผลค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่น ๆ สำหรับหนี้สินระยะยาวที่ยังไม่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนซึ่งกิจการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะยาว ให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน นอกจากนั้นกิจการต้องจัดประเภทหนี้สินระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนในกรณีเข้าข่าย 3 ข้อดังนี้ 1.เงื่อนไขการชำระหนี้เดิมมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน 2. กิจการมีความประสงค์ที่จะชำระหนี้โดยการก่อหนี้ระยะยาวใหม่ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ 3.มีหลักฐานสนับสนุนในรูปของสัญญาชำระหนี้โดยการก่อหนี้ใหม่ การต่ออายุหนี้ การปรับกำหนดการชำระหนี้ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่งบการเงินจะได้รับการอนุมัติ สัญญากู้ยืมบางสัญญามีเงื่อนไขที่มีผลทำให้กิจการต้องชำระคืนเงินกู้ทันทีเมื่อทวงถามหากฐานะการเงินของกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ กิจการจะแสดงหนี้สินนั้นเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนได้ต่อเมื่อ 1.ผู้ให้กู้ตกลงยินยอมที่จะไม่เรียกคืนเงินกู้แม้ว่ากิจการจะผิดเงื่อนไขตามสัญญา การยินยอมนั้นต้องทำก่อนที่งบการเงินจะได้รับอนุมัติ 2.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะไม่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล การแสดงรายการในงบการเงิน ปกติการแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบการเงินจะลำดับตามสภาพคล่อง โดยเริ่มจากรายการเงินสด หรือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้คล่องที่สุด ถ้าหากเงินสด และเงินฝากธนาคารมีข้อจำกัดในการใช้ ให้แสดงเป็นรายการแยกต่างหาก หรือเปิดเผยข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เงินลงทุนชั่นคราวที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี ถ้าเงินฝากธนาคารมีกำหนดเกิน 1 ปี ให้แสดงไว้ในรายการเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมอื่น ๆ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไม่หมุนเวียน เงินฝากที่อยู่ในรูปตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย
วางระบบบัญชี
ขั้นตอนการวางระบบบัญชี วางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ ว่ามีการเดินทางไปแหล่งที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มออกเอกสารจน สิ้นสุดกระบวนการไม่ว่จะเป็น ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือการออกเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จ. รายละเอียดของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้ทรัพย์สิน การจัดซื้อหรือการคิดค่าเสื่อมราคา ฉ. ข้อมูลทางการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการตลาด การกำหนดขั้นตอนในการจำหน่าย การจ่ายค่านายหน้า หรือค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย แนวทางการประชาสัมพันธ์ ช. รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงิน การตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนด การชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้น วงเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชี การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี ก. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อ การพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี ค. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย-รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจอสอบ และควบคุมภายในได้เป็อย่างดี ง. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึง ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร จ. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
บัญชี
วงจรบัญชี คือลำดับขั้นตองในกระบวนการทำบัญชีงบการเงินตั้งแต่เริ่มต้นในการทำบัญชีไปจนสิ้นสุดของการทำบัญชี วงจรบัญชีเป็นการแสดงถึงขั้นตองการบัญชีตั้งแต่การเริ่มบันทึกรายการค้าไปจนถึงการได้งบการเงินเป็นรายงานออกมาเป็นไปตามรอบระยะบัญชีที่ทางกิจการได้กำหนดไว้ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการของวงจรบัญชีนั้นจะมีอยู่ 9 ขั้นตอนด้วยกันหากผู้ที่ต้องการทำบัญชีแล้วการศึกษาวงจรบัญชีจะทำให้เข้าใจการขั้นตอนได้ง่ายและนำไปสู่การเรียนรู้ของการทำบัญชีให้ประสบผลสำเร็จสำหรับขั้นตอนการบัญชีหรือวงจรการบัญชีมีทั้งหมด 9 ขั้นตอนดังนี้ 1. จดบันทึกรายการค้า 2. บันทึกในสมุดบัญชีขั้นตอนหรือว่าสมุดรายวันขั้นต้น 3. สมุดบัญชีแยกประเภท 4. การทำงบทดลอง 5. ปรับปรุงบัญชีในกระดาษทำการ 6. การจัดทำงบการเงิน 7. ปรับปรุงรายการบัญชี 8. การปิดบัญชีขั้นต้น 9. จำทำงบทดลองหรือว่าเปิดรายการบัญชี ในการจัดทำบัญชีของกิจการจำเป็นต้องอาศัยเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจนกระทั่งประมวลผลเพื่อนำเสนองบการเงิน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้ดังนี้ ขั้นตอนการปิดบัญชี 1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) 3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ 4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม 5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน ซึ่งได้แก่ 5.1 งบแสดงฐานะการเงิน 5.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย 5.3 งบกระแสเงินสด 5.4 งบแสดงการเปลี่ยนแลงส่วนของผู้ถือหุ้น 5.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6. การปิดบัญชี (Closing Entries) หลังจากที่ปรับปรุงรายการ และจัดทำงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องทำการปิดบัญชีต่าง ๆ ที่จะต้องปิดบัญชีในแต่งวดบัญชีในสมุดรายวัน และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง สำหรับบัญชีที่ไม่ได้ปิด ก็จำทำการยกยอดบัญชีนั้นไปในงวดบัญชีใหม่ต่อไป
ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ
ศัพท์บัญชีไทย-อังกฤษ กระแสเงินสด cash flow กระแสเงินสดเข้า cash inflow กระแสเงินสดออก cash outflow กระดาษทำการสอบบัญชี audit working papers กลุ่มหลักทรัพย์ security portfolio กองทุน fund กองทุนจม sinking fund กองทุนบำเหน็จ บำนาญ pension fund กองทุนพันธบัตร boud fund กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ provident fund ก่อนหักรายจ่าย gross การเช่า leasing การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี accounting change การเปิดเผยข้อมูล disclosure การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง private offering, การเสนอขายหลักทรัพย์แบบทั่วไป public offering การแปลงสภาพ conversion การแยกหุ้นทุน stock split การแลกเปลี่ยน barter การแลกเปลี่ยนเช็ค exchange cheque การแลกเปลี่ยนหนี้ต่างสกุลเงินกัน currency seap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ของสกุลเงินเดียวกัน single currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยต่างสกุลเงิน cross currency interest rate swap การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง basis swap การโอนสิทธิ assignment การใช้บัญชีลูกหนี้เป็นหลักประกัน assigned accounts receivable การกำหนดมูลค่าทางการบัญชี accounting valuation การขายผ่อนส่ง installment sale การควบกิจการ business combination การควบกิจการ merger การควบคุมโดยใช้งบประมาณดำเนินงาน budgetary control การควบคุมจำนวนการผลิต production control การควบคุมทางการบัญชี
หนังสือรับรอง
Certified document English language. หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองภาษาอังกฤษของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ปิดงบน่ารู้
เป็นบทความที่ขอเอามาแบ่งปันเป็นความรู้สำหรับเจ้าของกิจการ ผมอ่านแล้วก้อเห็นว่ามีประโยชน์และเป็นข้อเท็จจริงที่ควรปรับเปลี่ยน พอดีช่วงนี้เป็นหน้าปิดงบ แล้วเราเองมีเรื่องอยากระบายมานานแล้ว หลังจากได้มีโอกาสร่วมงานกับสำนักงานบัญชีระดับ local เล็กๆ มากมาย เราพบว่า ส่วนใหญ่ เกินครึ่ง ไม่เข้าใจหลักการบัญชีพื้นฐาน แถมยังสอนลูกค้า (ทั้งที่มีพื้นบัญชีและไม่มีพื้นบัญชี) ผิดๆ จนลูกค้าฝังใจเชื่อในสิ่งที่ผิดๆ นั้น เราเองพยายามสอนในสิ่งที่ถูก แต่บางทีก็เป็นการยากที่จะทัดทาน มันเหมือนกับเค้าฝังใจเชื่อสำนักงานบัญชีพวกนั้น จนไม่ยอมรับฟังความถูกต้องไปแล้ว เราจะลองยกประเด็นง่ายๆ หลักบัญชีพื้นๆ ที่เราเจอแล้วปวดหัวกับ สนง.บัญชีระดับล่าง มาให้ลองพิจารณากันนะ ไม่ได้มีเจตนาดูถูกพวกเค้า แต่อัดอั้นมานาน อยากแชร์ 1. สอนย้ำลูกค้าเลยว่า “ถ้าบริษัทให้กรรมการกู้เงิน ยังไงต้องคิดดอกเบี้ย” จนลูกค้าหลายรายเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นหลักบัญชีไปแล้ว มาตรฐานฉบับไหนกล่าวไว้ไม่ทราบ เป็นกฎของใครหรือเปล่า เข้าใจผิดกันเต็มๆ สำหรับคนที่ยังหลงผิด เราจะชี้แจงให้ฟัง แต่เราเชื่อว่า พวกที่แม่นมาตรฐานการบัญชี โดยเฉพาะพวก CPA จะเข้าใจ การที่บริษัทจะให้ใครยืมเงิน มีใครมาบังคับได้ด้วยหรือ ว่าต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่านั้นเท่านี้ การที่ สนง.บัญชีสอนแบบนี้ ก็เพราะไป ยึดเอาประกาศของสรรพากร เรื่อง การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด มาตีกับเรื่องบัญชี จนทำให้ลูกค้าสับสนไปหมด และเข้าใจผิด ความเป็นจริงก็คือ สรรรพากรไม่มีอำนาจมาบังคับให้บริษัทคิดดอกเบี้ย แต่มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยยึดหลักการที่ว่า ถ้าบริษัท เอาเงินก้อนนี้ไปฝากธนาคาร จะทำให้ได้รับดอกเบี้ย แล้วสรรพากรรจะมีรายได้จากกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยรับก้อนนั้น ดังนั้น ถ้าหากบริษัทไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรจะขอประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม แล้วบวกเข้าไปจากกำไรสุทธิทางบัญชี ก่อนจะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ประเมินดอกเบี้ยรับเพิ่มเข้าไปในแบบ ภงด50 ถ้าใครไม่ทราบ ขอแนะนำให้เปิดไปในแบบหน้า 3 รายการที่ 3 ข้อที่ 10 ที่บอกว่า “บวก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร” ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยรับเข้าไปในงบการเงิน โดยบันทึก Dr.ดอกเบี้ยค้างรับ และ Cr.ดอกเบี้ยรับ เข้าไปทุกๆ ปี กรุณาเถอะ สนง.บ้ญชีทั้งหลาย ช่วยทำให้มันถูกต้องได้มั้ย แบบ ภงด.50 เค้ามีให้ประเมินเพิ่มอยู่แล้ว ใส่เข้าไปตรงนั้น
งบการเงิน
การนำเสนองบการเงิน งบการเงิน financial statements เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่นผู้ถือหุ้นควรถือเงินลงทุนต่อ หรือควรขาย หรือควรซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้ในการพิจารณาว่าควรปล่อยกู้หรือไม่ นอกจากนั้นงบการเงินยังแสดงความสามารถของฝ่ายบริหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นให้บริหาร ส่วนประกอบของงบการเงิน ตามมาตรฐารการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดว่างบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย 1.งบดุล balance sheet เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) 2.งบกำไรขาดทุน statement of income หรือ profit and loss statement เป็นงบที่แสาดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับกับการวัดผลการดำเนินงาน คือ บัญชีรายได้ และค่าใช้จ่าย 3.งบกระแสเงินสด statement of cash flows เป็นงบที่แสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด ในระหว่างงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ว่ากิจการได้ดำเนิน กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงินอย่างไร 4.งบแสดงเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ statement of changes in owner’s equity หรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ comprehensive income statement เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้เป็นเจ้าของในระหว่างงวดบัญชี 5.นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน accounting policies and notes to financial statement เป็นข้อมูลนโยบายบัญชีที่กิจการเลือกให้อย่างเหมาะ และข้อมูลที่เปิดเผยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งบไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญของงบการเงิน การจัดทำงบการเงิน จะต้องจัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง กิจการจะต้องนำมาตรฐานการบัญชีและตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็นมาปฏิบัติอย่างเหมาะสม พร้อมกับเปิดผยข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอ การที่กิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี แต่เปิดเผยให้ทราบในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรืออธิบายในลักษณะอื่น ก็ไม่ทำให้งบการเงินถูกต้องตามที่ควร นโยบายบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารจะต้องเลือกใช้นโยบายการบัญชี และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี และการตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็น
เปิดบัญชีธนาคาร
การเปิดบัญชีธนาคารของนิติบุคคล เมื่อจดจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อย จัดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสักหน่อย แต่ก้อพอจะมีวิธีแนะนำให้เป็นแนวคร่าวๆดังนี้ครับ ก่อนอื่นท่านต้องรู้ว่ากิจการของท่านเป็นนิติบุคคลแบบไหน? เอกสารส่วนของบริษัทท่านที่ต้องเตรียม รายงานการประชุมโดยกรรมการผู้ถือหุ้นที่แสดงมติให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร เอกสารแสดงตัวตนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม และของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย *และที่สำคัญต้องนำตราประทับของนิติบุคคลติดไปด้วยที่ธนาคาร* หนังสือรับรอง (ไม่เกิน 1 เดือน) หนังสือข้อบังคับ (หากนิติบุคคลนั้นมีข้อบังคับ) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รายการจดทะเบียน (บอจ.3) แสดงตัวอย่างตราประทับของนิติบุคคลและรายการแก้ไขเพิ่มเติม (บอจ.4) *หากมีการแก้ไขตราประทับ* บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี & ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) ครับโดยทั่วไปก้อประมาณนี้แหละครับสำหรับบริษัทจำกัด แต่หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก้อจะใช้หนังสือจดทะเบียนจัดตั้ง/ใบอนุญาตจัดตั้งหรืออื่นๆ แทนหนังสือรับรอง ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้สำหรับธนาคารกสิกรไทย
สำนักงานทะเบียนธุรกิจ
สำนักงานทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร ที่สามารถเข้าใช้บริการได้ หน่วยงาน ที่ตั้งปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-1, 67 , 69 FAX. 0 2446 8191 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7253,55,56,59,66 FAX. 0 2276 7263 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น G เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทร.0 2348