กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมที่ดิน ภาษีสรรพากร สมัครยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ท คู่มือขออนุญาตของคณะกรรมการอาหารและยา คู่มือประชาชนกระทรวงสาธารณสุข ประกันสังคม กรมพัฒนาที่ดิน กรมศุลกากร
Category: Resources
Resources – รวมสาระน่ารู้สำหรับ SME
หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไหร่?
เรื่องนี้อยากแนะนำให้เจ้าของธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ทำความเข้าใจไว้บ้างก้อจะเป็นประโยชน์ย่างยิ่ง เพราะเวลาเราจ่ายเงิน เช่นค่าจ้าง ค่าขนส่ง เงินเดือน ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาหรืออื่นๆหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับต้นทุนในการผลิต หรือการดำเนินงานหรือในส่วนของการบริหาร หากจ่ายส่วนนี้ออกไปโดยไม่มีการ หัก ณ ที่จ่าย อาจจะทำให้พลาดโอกาสในการนำค่าใช่จ่ายเหล่านี้ไปบันทึกบัญชีได้ ทำให้เงินสดรับต่ำกว่าความเป็นจริงมากและจะส่งผลถึงกระแสเงินสดในบัญชีที่อาจจะผิดพลาดได้สูงมาก ดาวน์โหลดคู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย
รับโอนเงินต่างประเทศ
มีโอกาสได้หารือเรื่องนี้เพราะเดี๋ยวนี้มีการลงทุนและร่วมทุนระหว่างประเทศมากขึ้นพอจะได้ข้อสรุปโดยย่อดังนี้ ฝั่งขารับเงินโอน ต้องแสดงที่มาที่ไประหว่างผู้โอนมากับผู้รับหากเป็นเงินจำนวนที่เกิน 50,000 US$ กรอกแบบฟอร์มที่แต่ละธนาคารกำหนด ดูตัวอย่างที่นี่ ค่าธรรมเนียมฝั่งขารับโอน 0.25% ของยอดเงิน ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาทต่อรายการ อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้น ณ วันนั้นๆ ผู้ที่ต้องการใช้บริการต้องติดต่อแจ้งธนาคารสาขาที่มีบัญชี นั้นๆไว้ล่วงหน้า ธนาคารอาจเรียกเอกสารเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม 3-5 วันทำการก่อนอนุมัติให้ถอนรับเงินโอนได้ ฝั่งขาโอนออก แนะนำให้ใช้ธนาคารเดียวกันกับฝั่งรับโอน ควรตรวจสองเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมให้ชัดเจน เอกสารประกอบเหตุผลการโอนเงินออก ที่ต้องเตรียมจากฝั่งผู้รับโอนให้ชัดเจน หมายเหตุ: การโอนเงินข้ามประเทศจะอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนสากล ควรศึกษาข้อมูลในด้านนี้ประกอบด้วย
ต่างชาติกับกรรมสิทธิ์
การถือครองอสังหาริมทรัพย์คนต่างชาติที่จะสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจหรือการลงทุนที่สอดคล้องตามกฎหมาย นักลงทุนสามารถที่จะถือครองที่ดินได้ หากได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI)หรือกรณีดำเนินธุรกิจ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็สามารถมีสิทธิถือครองที่ดินได้ หรือการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเช่าได้ไม่เกิน 30 ปี หรือการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ.2542 ซึ่งสามารถเช่าได้ไม่เกิน 50 ปี ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มิใช่อาคารชุด คนต่างชาติสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2545 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ 1.นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี 2.ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3.ต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ 3.1 การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตธรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นหรือดอกเบี้ย 3.2 การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3.3 การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3.4 การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 4.ที่ดินที่คนต่างชาติจะได้มาต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณกำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร 5.คนต่างชาติผู้ได้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองและครอบครัวโดยไม่ขัดต่อศีลธรรม จารีตประเพณี หรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น 6.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าว กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะต้องจำหน่ายที่ดินในส่วนที่ตนมีสิทธิภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น 7.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามนัยดังกล่าวไม่ได้ใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนการได้มา อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น นอกจากกรณีดังกล่าว คนต่างชาติอาจได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยได้รับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมได้ โดยที่ดินได้รับมรดกเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยมีได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรมไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน10 ไร่ ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่ เป็นต้น สำหรับคนต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทยไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่เป็นคนสัญชาติไทยสามารถซื้อที่ดินได้โดยผู้ซื้อและคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติจะต้องยืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ซื้อที่มีสัญชาติไทย มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติสำหรับกรณีซึ่งมิใช่อาคารชุด ต้องมีเงื่อนไขผูกพันกับเรื่องของการลงทุนเป็นหลัก หากกรณีเป็นการเช่าโดยทั่วไป ก็สามารถเช่าตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ไม่เกิน 30 ปี สำหรับการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมปี 2542 ซึ่งเป็นการเช่าที่มีระยะเวลาเกินกว่า 30 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี ก็มิได้ครอบคลุมถึงเช่าเพื่อการอยู่อาศัย แต่หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้ครอบคลุมถึงการเช่าเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน50 ปีด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อคนต่างชาติและคนไทยในเรื่องระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 30
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
มีเกณฑ์ให้พิจารณา 2 ข้อครับ ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ คำถามแรกที่เราต้องถามก็คือ ประเภทการประกอบธุรกิจของเรานั้นได้รับสิทธิยกเวันภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับสิทธิยกเว้นก็แปลว่าไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่ไม่ได้ตัดสิทธิในการขอขึนทะเบียน ธุรกิจเรามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ คำถามต่อมาก็คือ ถ้าหากเราไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แล้วธุรกิจของเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ในระหว่างรอบบัญชีที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก้อาต้องรีบขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไปครับ [su_shadow style=”right”][su_panel shadow=”none”]กรมสรรพากรขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะส่งผลทำให้ภาพรวมของการบริโภคและ การลงทุนของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงยิ่งขึ้น นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การขยายเวลา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดิมร้อยละ 7 ดังกล่าวข้างต้นกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 โดยให้ยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ส่วนการที่ระบุว่าเป็นการลดอัตราภาษีลงมานั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 9 และภาษีท้องถิ่น ร้อยละ 1) จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงมาที่อัตราร้อยละ 7 รวมภาษี ท้องถิ่นดังกล่าว[/su_panel][/su_shadow] ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ส านักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ.2560
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
หน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จำเป็นต้องทราบว่าฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลหมายรวมถึงอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายภาษีอากร โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลคือ จำนวนเงินกำไรที่จะนำมาใช้เพื่อคูณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในความเป็นจริงฐานภาษีมีหลายลักษณะ ฐานภาษีที่ต่างกัน ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี และอัตราภาษีตามฐานภาษีเหล่านั้นยังมีรายละเอียดที่ต่างกันไปด้วย โดยทั่วๆไปที่เรามราบ ณ ปัจจุบัน กำไรสุทธิ อัตราภาษี% ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15 เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป 20 อธิบายรายละเอียดในแต่ฐานภาษี ได้ดังนี้ 1.ฐานกำไรสุทธิ เป็นฐานภาษีที่สำคัญเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นฐานที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุด จำแนกรายละเอียดเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่ 1.2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่ามีสาขาอยู่ในหรือนอกประเทศ จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.3 กิจการที่ดำเนินงานเป็นทางการค้า หรือหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.4 กิจการร่วมค้า 1.2 การคำนวณกำไร กำไรสุทธิที่คำนวณได้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำไรสุทธิทางภาษีอากร คือ คำนวณจากรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี รายได้และรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ รายได้และรายจ่าย (ที่เกี่ยวกับรายได้) เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินในรอบบัญชีนั้น ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีนั้น 1.3 อัตราภาษี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลทั่วไปที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 เว้นแต่จะรัฐบาลจะออกมาตรการทางภาษีตามสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น เช่นหลายปีที่ผ่านมาดังนี้ สำหรับปีบัญชี 2558 อัตราภาษีเป็นดังนี้ 1.4 การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ดังนี้ 1.4.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบปี จะต้องยื่นแสดงแบบรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.
การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม
หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ (3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร (4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ (2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่ (3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ 4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ 5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ 6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ 7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ 8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ)
เตรียมตัวทำหนังสือเดินทาง
ทุกวันนี้เราสามารถจองคิวทำหนังสือเดินทางได้แล้วและประหยัดเวลาในการรอคอยด้วยการใช้ ลงทะเบียนรับบริการหนังสือเดินทาง การลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า คือบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการทำหนังสือเดินทางซึ่งเป็นบริการออนไลน์ 24 ชั่วโมงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีบริการดังนี้ แสดงสถิติการทำหนังสือเดินทางย้อนหลัง 5 วัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวันที่จะมาใช้บริการ แสดงจำนวนคิว ณ เวลาปัจจุบันของแต่ละสาขาและประมาณเวลาที่จะได้รับบริการทำหนังสือเดินทาง แสดงที่ตั้งสำนักงานหนังสือเดินทาง เส้นทาง และเวลาในการเดินทางไปยังสำนักงานหนังสือเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถจองคิวและลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางได้ล่วงหน้า และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้จนถึง 23:00 น. ของวันก่อนวันขอรับบริการหนังสือเดินทาง สามารถกำหนดวิธีการรับเล่มหนังสือเดินทางได้ด้วยตัวเอง สามารถตรวจสอบสถานะของหนังสือเดินทางที่ได้ยื่นขอไว้ได้ทุกสำนักงานฯ วิธีลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทาง เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนของท่านจะถูกยกเลิก กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเองและเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น ท่านต้องเตรียมเอกสาร – หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร – หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทางเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2) วิธีการลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทางล่วงหน้า ลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางแบบธรรมดาhttps://www.passport.in.th/eService/
ยื่นงบการเงิน2560
คู่มือยื่นงบการเงิน 2560 แบบประกอบการยื่นงบการเงิน แบบกรอก แบบนำส่งงบการเงิน ส.บช.3 แบบพิมพ์ แบบ สบช. 3 (.pdf), แบบพิมพ์ สบช. 3/1 แบบแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้น แบบ บอจ. 5 (.pdf) แบบแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นมหาชน แบบ บมจ. 006 (.pdf) หนังสือนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ตารางอัตราเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2599 ดาวน์โหลดอัตราเปรียบเทียบความผิด กรณีงบการเงิน
พระเสด็จสู่สวรรคาลัย
รวมบทความที่พระเถระและพระอริยสงฆ์ กล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระองค์ทรงมีกระแสจิตแรงมาก ฉันเองยังสู้ท่านไม่ได้ เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ (ในหลวง) ปรารถนามานาน แต่เวลานี้บารมีเป็น “ปรมัตถบารมี” เหลืออีก ๕ ชาติ และที่พระองค์ปฏิบัติมามันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็น “วิริยาธิกะ” ต้องบำเพ็ญถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป นี่เกิน ๑๖ อสงไขยแล้ว “แสนกัป” อาจยังไม่ครบ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ” หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง “นี้รูปพระเจ้าแผนดิน เก็บดีๆ แด้นั้น เอาไว้ในห้องพระ กราบไหว้บูชา พระพุทธเจ้านะนั้น” พระครูภาวนาภิรัต วิ. (หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ “ก็มีแต่คนไม่ฉลาดเท่านั้นแหละ ถึงไม่รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีดีอะไร” พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร พระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ทำหน้าที่ยาวนานที่สุด หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยองค์เองทีเดียวว่า “ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม เคยเป็นช้างนาฬาคิริง ส่วนในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นช้างป่าเลไลยก์นะ…!!!” (ช้างป่าเลไลยก์คือพระโพธิสัตว์) หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ “วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ” หลวงพ่อพุธ ฐานิโย “หากไม่มีในหลวง พระพุทธศาสนาก็ตั้งอยู่ไม่ได้” หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ “พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย…” หลวงปู่แหวน สุจิณโณ “ในหลวงพระองค์นี้ ท่านเป็นพระโพธิสัตว์น๊ะ…” ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต “…การดูหมิ่นในหลวง ก็คือโค่นชาติบ้านเมือง เพราะนี่คือหัวใจของชาติ ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย…โลกอยู่ได้ด้วยของดี คนดี ไม่ใช่อยู่ได้ด้วยของชั่ว คนชั่ว… ในหลวงเป็นคนดีมากที่สุด เราหาได้ที่ไหนในเมืองไทยเรานี้ พระองค์เสด็จนู้นเสด็จนี้ เราก็เห็นไม่ใช่เหรอ ไม่ได้หยุดเลย