เป็นบทความที่ขอเอามาแบ่งปันเป็นความรู้สำหรับเจ้าของกิจการ ผมอ่านแล้วก้อเห็นว่ามีประโยชน์และเป็นข้อเท็จจริงที่ควรปรับเปลี่ยน พอดีช่วงนี้เป็นหน้าปิดงบ แล้วเราเองมีเรื่องอยากระบายมานานแล้ว หลังจากได้มีโอกาสร่วมงานกับสำนักงานบัญชีระดับ local เล็กๆ มากมาย เราพบว่า ส่วนใหญ่ เกินครึ่ง ไม่เข้าใจหลักการบัญชีพื้นฐาน แถมยังสอนลูกค้า (ทั้งที่มีพื้นบัญชีและไม่มีพื้นบัญชี) ผิดๆ จนลูกค้าฝังใจเชื่อในสิ่งที่ผิดๆ นั้น เราเองพยายามสอนในสิ่งที่ถูก แต่บางทีก็เป็นการยากที่จะทัดทาน มันเหมือนกับเค้าฝังใจเชื่อสำนักงานบัญชีพวกนั้น จนไม่ยอมรับฟังความถูกต้องไปแล้ว เราจะลองยกประเด็นง่ายๆ หลักบัญชีพื้นๆ ที่เราเจอแล้วปวดหัวกับ สนง.บัญชีระดับล่าง มาให้ลองพิจารณากันนะ ไม่ได้มีเจตนาดูถูกพวกเค้า แต่อัดอั้นมานาน อยากแชร์ 1. สอนย้ำลูกค้าเลยว่า “ถ้าบริษัทให้กรรมการกู้เงิน ยังไงต้องคิดดอกเบี้ย” จนลูกค้าหลายรายเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นหลักบัญชีไปแล้ว มาตรฐานฉบับไหนกล่าวไว้ไม่ทราบ เป็นกฎของใครหรือเปล่า เข้าใจผิดกันเต็มๆ สำหรับคนที่ยังหลงผิด เราจะชี้แจงให้ฟัง แต่เราเชื่อว่า พวกที่แม่นมาตรฐานการบัญชี โดยเฉพาะพวก CPA จะเข้าใจ การที่บริษัทจะให้ใครยืมเงิน มีใครมาบังคับได้ด้วยหรือ ว่าต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่านั้นเท่านี้ การที่ สนง.บัญชีสอนแบบนี้ ก็เพราะไป ยึดเอาประกาศของสรรพากร เรื่อง การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด มาตีกับเรื่องบัญชี จนทำให้ลูกค้าสับสนไปหมด และเข้าใจผิด ความเป็นจริงก็คือ สรรรพากรไม่มีอำนาจมาบังคับให้บริษัทคิดดอกเบี้ย แต่มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยยึดหลักการที่ว่า ถ้าบริษัท เอาเงินก้อนนี้ไปฝากธนาคาร จะทำให้ได้รับดอกเบี้ย แล้วสรรพากรรจะมีรายได้จากกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยรับก้อนนั้น ดังนั้น ถ้าหากบริษัทไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรจะขอประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม แล้วบวกเข้าไปจากกำไรสุทธิทางบัญชี ก่อนจะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ประเมินดอกเบี้ยรับเพิ่มเข้าไปในแบบ ภงด50 ถ้าใครไม่ทราบ ขอแนะนำให้เปิดไปในแบบหน้า 3 รายการที่ 3 ข้อที่ 10 ที่บอกว่า “บวก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร” ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยรับเข้าไปในงบการเงิน โดยบันทึก Dr.ดอกเบี้ยค้างรับ และ Cr.ดอกเบี้ยรับ เข้าไปทุกๆ ปี กรุณาเถอะ สนง.บ้ญชีทั้งหลาย ช่วยทำให้มันถูกต้องได้มั้ย แบบ ภงด.50 เค้ามีให้ประเมินเพิ่มอยู่แล้ว ใส่เข้าไปตรงนั้น
Author: L@moon
งบการเงิน
การนำเสนองบการเงิน งบการเงิน financial statements เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เช่นผู้ถือหุ้นควรถือเงินลงทุนต่อ หรือควรขาย หรือควรซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้ในการพิจารณาว่าควรปล่อยกู้หรือไม่ นอกจากนั้นงบการเงินยังแสดงความสามารถของฝ่ายบริหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นให้บริหาร ส่วนประกอบของงบการเงิน ตามมาตรฐารการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดว่างบการเงินที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย 1.งบดุล balance sheet เป็นงบที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) 2.งบกำไรขาดทุน statement of income หรือ profit and loss statement เป็นงบที่แสาดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ องค์ประกอบที่สำคัญเกี่ยวกับกับการวัดผลการดำเนินงาน คือ บัญชีรายได้ และค่าใช้จ่าย 3.งบกระแสเงินสด statement of cash flows เป็นงบที่แสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด ในระหว่างงวดบัญชีหนึ่ง ๆ ว่ากิจการได้ดำเนิน กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงินอย่างไร 4.งบแสดงเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ statement of changes in owner’s equity หรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ comprehensive income statement เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้เป็นเจ้าของในระหว่างงวดบัญชี 5.นโยบายการบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน accounting policies and notes to financial statement เป็นข้อมูลนโยบายบัญชีที่กิจการเลือกให้อย่างเหมาะ และข้อมูลที่เปิดเผยเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้งบไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญของงบการเงิน การจัดทำงบการเงิน จะต้องจัดทำงบการเงินโดยถูกต้องตามควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง กิจการจะต้องนำมาตรฐานการบัญชีและตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็นมาปฏิบัติอย่างเหมาะสม พร้อมกับเปิดผยข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอ การที่กิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี แต่เปิดเผยให้ทราบในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรืออธิบายในลักษณะอื่น ก็ไม่ทำให้งบการเงินถูกต้องตามที่ควร นโยบายบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารจะต้องเลือกใช้นโยบายการบัญชี และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี และการตีความตามมาตรฐานบัญชีทุกประเด็น
รับทำบัญชี&ภาษี
บริษัท เอซี เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105556143705 ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547) ดำเนินกิจการด้านบริการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ ตัวแทนยื่นขออนุญาติฯลฯ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์และมีจิตสำนึกในหน้าที่งานบริการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อแบ่งเบาภาระกิจของท่านและช่วยให้การดำเนินกิจการของท่านเป็นไปด้วยความรวดเร็วถูกต้องมั่นคงและเติบโตด้วยดีตลอดไป Accounting and tax agent services. ตัวแทนบริการงานด้านบัญชีและภาษี บริการจัดทำภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำเดือนพร้อมยื่นแบบภาษีเงินได้(ภงด.1-ภงด.3-ภงด.53) บริการจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย ประจำเดือนพร้อมยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30) บริการจัดทำเงินเดือนและจัดทำแบบนำส่งประกันสังคม,กองทุนทดแทนพร้อมทั้งนำส่งประกันสังคม บริการจัดทำบัญชีสมุดรายรับ-รายจ่าย,รายวันซื้อ-รายวันขาย,รายวันทั่วไปและสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป บริการวางระบบเอกสารบัญชี ภาษีอากร ปรึกษาปัญหาภาษี บริการงานตัวแทนเข้าพบสรรพากร(กรณีได้รับเชิญเข้าพบสรรพากร)เพื่อแก้ไขปัญหาภาษี Annual Balance Financial Report. บริการปิดงบการเงินสิ้นปี จัดทำสรุปงบแสดงฐาณะการเงิน,งบกำไร-ขาดทุนและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตามที่กฏหมายกำหนด ตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต(CPA) และนำส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำเอกสารเพื่อนำส่งงบการเงินยื่นกรมสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์(ภงด.50-ภงด.51-บอจ.5-ส.บช.3) บริการยื่น e-filing ตามข้อบังคับของกระทรวงพาณิชย์ สนใจงานบริการของ AC SERVICE SOLUTION สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 092 420 5888, Line id: aecregist หรือเมล์สอบถาม
ขออนุญาติขายตรง
เปิดบัญชีธนาคาร
การเปิดบัญชีธนาคารของนิติบุคคล เมื่อจดจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อย จัดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสักหน่อย แต่ก้อพอจะมีวิธีแนะนำให้เป็นแนวคร่าวๆดังนี้ครับ ก่อนอื่นท่านต้องรู้ว่ากิจการของท่านเป็นนิติบุคคลแบบไหน? เอกสารส่วนของบริษัทท่านที่ต้องเตรียม รายงานการประชุมโดยกรรมการผู้ถือหุ้นที่แสดงมติให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร เอกสารแสดงตัวตนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม และของผู้มีอำนาจสั่งจ่าย *และที่สำคัญต้องนำตราประทับของนิติบุคคลติดไปด้วยที่ธนาคาร* หนังสือรับรอง (ไม่เกิน 1 เดือน) หนังสือข้อบังคับ (หากนิติบุคคลนั้นมีข้อบังคับ) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รายการจดทะเบียน (บอจ.3) แสดงตัวอย่างตราประทับของนิติบุคคลและรายการแก้ไขเพิ่มเติม (บอจ.4) *หากมีการแก้ไขตราประทับ* บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี & ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) ครับโดยทั่วไปก้อประมาณนี้แหละครับสำหรับบริษัทจำกัด แต่หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก้อจะใช้หนังสือจดทะเบียนจัดตั้ง/ใบอนุญาตจัดตั้งหรืออื่นๆ แทนหนังสือรับรอง ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้สำหรับธนาคารกสิกรไทย
สำนักงานทะเบียนธุรกิจ
สำนักงานทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร ที่สามารถเข้าใช้บริการได้ หน่วยงาน ที่ตั้งปัจจุบัน สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0 2446 8160-1, 67 , 69 FAX. 0 2446 8191 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2618 3340-41,45 FAX. 0 2618 3343-4 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็ก(ซี 2) ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทร. 0 2276 7253,55,56,59,66 FAX. 0 2276 7263 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น G เลขที่ 222 ถ.สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2234 2951-3 FAX. 0 2266 5852-3 สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทร.0 2348
ยื่นขอภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบีย ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการด าเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารส านักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทน อยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การจดทะเบียน ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536 ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร เอกสารประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนนิติบุคคล
ในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไปมี 3 รูปแบบ คือ กิจการเจ้าของคนเดียว กิจการห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ซึ่งกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจการค้าที่นิยมกันมาก เพราะมีวิธีการจัดตั้งง่ายกว่าบริษัทจำกัด และใช้เงินทุนจำนวนน้อย เหมาะสำหรับกิจการค้าขนาดกลางและขนาดย่อม มีบุคคลที่ร่วมมาลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผลกำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจก็จะนำมาแบ่งปันกันตามอัตราที่ตกลงในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ความหมายของห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน (Partnership) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 บัญญัติไว้ว่า “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น”
ศัพท์ทะเบียนธุรกิจ
รวมคำศัพท์สำหรับงานทะเบียนธุรกิจที่ เจ้าของกิจการควรทราบและทำความเข้าใจ
ขอเครื่องหมาย มอก
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดบังคับ หรือไม่บังคับ ต้องศึกษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจ ซึ่งรายการมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และหนังสือมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆ สามารถหาซื้อไดที่สำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม – ผลิต ภันฑ์ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก จะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตควรทำการทดสอบเบื้องต้นตามวิธีการมาตรฐาน เมื่อแน่ใจว่าผ่านแล้วจึงดำเนินการ ขอใช้ตรา ม.อ.ก ผู้ผลิตสามารถจัดการทดสอบเบื้องต้นเอง (บุคลากร + เครื่องมือทดสอบ + วิธีการทดสอบ พร้อม) หรืออาจใช้บริการหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบที่มีความสามารถตามมาตรฐานนั้นๆ (ดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรมในหมวดการรับรองห้อง ปฏิบัติการ www.tisi.go.th ) – นอกจากผลิตภันฑ์ต้องผ่านการทดสอบแล้ว สถานที่ผลิต ขบวนการการผลิต จะต้องถูกตรวจสอบด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อตรวจระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตรวจรับวัตถุดิบ ⇒การจัดเก็บวัตถุดิบ⇒ขั้นตอนการผลิต⇒การควบคุมการผลิต⇒การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต⇒การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ⇒การบรรจุภัณฑ์ การอบรมบุคลากร การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต