ผู้ประกอบการอาจจะเข้าใจว่าไม่ต้องนำส่งก็ได้หรือนำส่งย้อนหลังก็ได้ จริงๆแล้วถ้าจะทำอย่างนั้นก็ได้ แต่สิ่งที่ตามมาจะโดนหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือโดนจดหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Author: L@moon
ลดทุนจดทะเบียน
ด้วยเหตุผลที่มีเงินทุนเกินกว่าความจำเป็นจึงจะ
ลดทุนเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้ถือหุ้น หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือกิจการมีขาดทุนสะสมอยู่ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จึงลดทุน
มาล้างขาดทุนสะสมซึ่งกรณีนี้จะไม่มีเงินคืนผู้ถือหุ้น
กรรมการกู้เงินธนาคารมาใช้ในกิจการ
เมื่อกิจการขาดสภาพคล่อง ผู้ถือหุ้นไม่ต้องการเพิ่มทุน และกรรมการยังต้องการดำเนินกิจการต่อ จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนสำรองมาเสริมสภาพคล่อง โดยกรรมการอาจจะกู้เงินโดยใช้เครดิตส่วนบุคคลหรือทรัพย์ส่วนตัวเข้าค้ำประกันเงินกู้ เงินกู้และดอกเบี้ยส่วนนี้สามารถนำมาบันทึกรายจ่ายทางบัญชีได้
ย้ายผู้ดูแลบัญชี
ด้วยเหตุผลใดก้อตามที่ทำให้ต้องหาผู้ทำบัญชีใหม่ กรรมการต้องคำนึงถึงผลกระทบในส่วนของข้อมูลกิจการให้ดี ไม่ว่าเอกสารตัวจริงที่บันทึกบัญชี แบบภาษีที่ยื่นทั้งหมด ข้อมูลผู้ใช้งานในการยื่นแบบทั้งกรมพัฒน์และกรมสรรพากร ต้องเรียกเอกสารและข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะหยุดกิจกรรมจากผู้ทำบัญชีคนเดิม
Finance&Leasing
การเช่าซื้อหรือการลีสซิ่งรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญในการบริหารงานดำเนินธุรกิจ
ตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI แตกต่างกันอย่างไร?
SET ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป MAI เป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 20 ล้านขึ้นไป
นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ MAI
เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของกรรมการตาม พรบ.หลักทรัพย์ฯ จัดโครงสร้างธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อลดโอกาสที่อาจจะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และดำเนินงานอย่างโปร่งใสให้ตรวจสอบได้ เตรียมระบบควบคุมภายในที่ดี เช่น การมอบอำนาจเพื่อดำเนินการต่างๆ เตรียมระบบบัญชี ความพร้อมงบการเงิน จัดทำตามมาตรฐานบัญชี ให้ความร่วมมือกับ FA และ Auditor และ Pre-consult ประเด็นต่างๆ ก่อนยื่น IPO
ภาษีบริษัทปี 2564
อัตราภาษีนิติบุคคลไทย ประจำปี 2564 ที่กรมสรรพากรประกาศใช้
การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม
หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร(2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ(3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร(4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่(2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่(3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ) การให้บริการอื่นๆ (ไม่รวมถึงค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต) การจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งให้แก่ผู้รับเงิน
ค่ารับรอง
ค่ารับรองต้องนำไปใช้กับบุคคลอื่นที่จะเกี่ยวข้องกับทางธุรกิจและจำเป็นทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยกเว้นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย รับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น ค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร