- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2557
- กฎกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการและการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545
- กฎกระทรวง ว่าด้วยค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับมูลนิธิ พ.ศ. 2545
เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ได้กำหนดให้มูลนิธิ ต้องมีข้อบังคับและต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ การก่อตั้งมูลนิธิ ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลมารวมกันปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
- รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรทำมูลนิธิ
- รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
- ข้อบังคับของมูลนิธิ
- คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ ของเจ้าของทรัพย์สิน(๑) ที่มีผลตามกฎหมาย
- สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตาม(๑) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรมนั้น
- สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ส่วนราชการออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (๑) และ (๒)
- แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี)
- หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่
- สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)
หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 ส่วนที่ 3 กำหนดให้การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. มีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนไม่ต่ำกว่าที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ ดังนี้
- มูลนิธิต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไมน้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
- มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัยและเพื่อการบำบัดรักษา ค้นคว้า ป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐ ต้องมีทุนทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท
2. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
3. มีข้อบังคับเป็นแนวปฏิบัติและต้องไม่ขัดกับกฎหมาย
4. ต้องมีการจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
5. การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่กำหนดไว้
(กรณีไม่ต้องสอบถามความเห็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของชื่อ วัตถุประสงค์หรือเครื่องหมายใช้ระยะเวลาดำเนินการรวม30 วัน)
สถานที่ยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
- เขตกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ
- เขตจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ
ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
จัดตั้งมูลนิธิในเขตกรุงเทพมหานคร- ผู้ขอตั้งมูลนิธิ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐาน (จำนวน 4 ชุด) เพื่อยื่นร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิตามแบบ (ม.น.1) ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานมูลนิธิจะจัดตั้งขึ้น ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานเขต
- เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตรับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำขอและหลักฐานต่างๆ ตรวจสอบชื่อของมูลนิธิว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือซ้ำกับชื่อของมูลนิธิที่จด ทะเบียนไว้หรือไม่ การตรวจสอบ/สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติเหมาะสมที่จะดำเนิน การตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหรือไม่
- พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตเสนอความเห็นต่อนายทะเบียนโดยส่งเรื่องไป กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง ก่อนส่งให้นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร (ปลัดกระทรวงมหาดไทย)พิจารณาอนุญาต ซึ่งหากเห็นว่าถูกต้องก็จะส่งไปยังกระทรวงมหาดไทย
- เมื่อนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานครได้รับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ นายทะเบียนจะส่งคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
- เมื่อผ่านกระบวนการของ สวช. แล้ว นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบสำคัญแสดงการจด ทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น.3)และส่งประกาศอนุญาตให้ตั้งเป็นมูลนิธิไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลงในราชกิจจานุเบกษา แล้วส่งเรื่องคืนไปยังสำนักงานเขตเพื่อแจ้งให้ผู้ขออนุญาตมารับใบสำคัญฯและชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
- ผู้ขอตั้งมูลนิธิ ต้องจัดทำเอกสารหลักฐาน (จำนวน 4 ชุด) เพื่อยื่นเรื่องคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต่อนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ที่สำนักงานใหญ่มูลนิธิตั้งขึ้น
- เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้รับเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากผู้ขอแล้ว จะทำการตรวจสอบ/สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติ เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหรือไม่เมื่อทำการตรวจ สอบ/สอบสวนเสร็จแล้วรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไปยังจังหวัด
- เมื่อจังหวัดได้รับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับ งานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จังหวัดจะส่งคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
- เมื่อ สวช. ได้ตอบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นองค์การแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบ สำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ (ม.น.3) และส่งประกาศการอนุญาตให้ตั้งมูลนิธิไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลง ในราชกิจจานุเบกษาแล้วส่งเรื่องคืนไปยังอำเภอเพื่อแจ้งให้ผู้ขออนุญาตมารับใบสำคัญฯและชำระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 092 420 5888 คุณรณชัย