จดเครื่องหมายการค้า

จดเครื่องหมายการค้า

Trade Mark | เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคํญมาก และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Property) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น ในส่วนของเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ นั้นจะต้องเป็นเครื่องหมายที่เจ้าของประสงค์จะใช้เครื่องหมายการค้าเฉพาะกับสินค้าและเครื่องหมายบริการเฉพาะการบริการ ที่ได้ยื่นคําขอจดทะเบียนไว้ ส่วนเครื่องหมายรับรองนั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายรับรองเท่านั้น ที่จะเป็นผู้รับรองสินค้า ของบุคคลอื่น หรือการบริการของบุคคลอื่นเท่านั้น จะรับรองสินค้าหรือการบริการของตนเองไม่ได้เพราะกฎหมายห้ามไว้และหากผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายรับรองฝ่าฝืน โดยไปรับรองสินค้าหรือบริการของตนเองย่อมมีความผิดทางอาญา ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ในการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้น จะต้องมีข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง โดยขอบังคับนั้น จะต้องระบุถึง แหล่งกำเนิด สถานที่ซึ่งเป็นที่มาหรือที่ผลิตหรือประกอบหรือที่เริ่มกิจการของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง ส่วนประกอบ สิ่งต่างๆที่ใช้ประกอบเป็นสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง วิธีการผลิต กรรมวิธีการผลิตสินค้าหรือวิธีการให้บริการโดยสังเขป คุณภาพ ลักษณะที่เป็นส่วนดีหรือลักษณะประจำของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง คุณลักษณะอื่รใดของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง เป็นส่วนลักษระย่อยๆของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง เป็นหลักเกณฑ์ในการขอใช้และอนุญาตให้ใช้ วิธีการขอใช้และอนุญาตให้ใช้ เงื่อนไขในการขอใช้และอนุญาตให้ใช้ มาตรการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือบริการที่จะรับรองเป็นต้น

รายละเอียด

ลิ้งค์ดาวน์โหลด

ลิ้งค์ดาวน์โหลด

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมที่ดิน ภาษีสรรพากร สมัครยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ท คู่มือขออนุญาตของคณะกรรมการอาหารและยา คู่มือประชาชนกระทรวงสาธารณสุข ประกันสังคม กรมพัฒนาที่ดิน กรมศุลกากร

รายละเอียด

หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไหร่?

หักภาษี ณ ที่จ่ายใช้อัตราเท่าไหร่

เรื่องนี้อยากแนะนำให้เจ้าของธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ทำความเข้าใจไว้บ้างก้อจะเป็นประโยชน์ย่างยิ่ง เพราะเวลาเราจ่ายเงิน เช่นค่าจ้าง ค่าขนส่ง เงินเดือน ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาหรืออื่นๆหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับต้นทุนในการผลิต หรือการดำเนินงานหรือในส่วนของการบริหาร หากจ่ายส่วนนี้ออกไปโดยไม่มีการ หัก ณ ที่จ่าย อาจจะทำให้พลาดโอกาสในการนำค่าใช่จ่ายเหล่านี้ไปบันทึกบัญชีได้  ทำให้เงินสดรับต่ำกว่าความเป็นจริงมากและจะส่งผลถึงกระแสเงินสดในบัญชีที่อาจจะผิดพลาดได้สูงมาก   ดาวน์โหลดคู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย

รายละเอียด

รับโอนเงินต่างประเทศ

การรับโอนเงินจากต่างประเทศ

มีโอกาสได้หารือเรื่องนี้เพราะเดี๋ยวนี้มีการลงทุนและร่วมทุนระหว่างประเทศมากขึ้นพอจะได้ข้อสรุปโดยย่อดังนี้ ฝั่งขารับเงินโอน ต้องแสดงที่มาที่ไประหว่างผู้โอนมากับผู้รับหากเป็นเงินจำนวนที่เกิน 50,000 US$ กรอกแบบฟอร์มที่แต่ละธนาคารกำหนด ดูตัวอย่างที่นี่ ค่าธรรมเนียมฝั่งขารับโอน 0.25% ของยอดเงิน ขั้นต่ำ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 500 บาทต่อรายการ อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้น ณ วันนั้นๆ ผู้ที่ต้องการใช้บริการต้องติดต่อแจ้งธนาคารสาขาที่มีบัญชี นั้นๆไว้ล่วงหน้า ธนาคารอาจเรียกเอกสารเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม 3-5 วันทำการก่อนอนุมัติให้ถอนรับเงินโอนได้ ฝั่งขาโอนออก แนะนำให้ใช้ธนาคารเดียวกันกับฝั่งรับโอน ควรตรวจสองเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมให้ชัดเจน เอกสารประกอบเหตุผลการโอนเงินออก ที่ต้องเตรียมจากฝั่งผู้รับโอนให้ชัดเจน หมายเหตุ: การโอนเงินข้ามประเทศจะอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนสากล ควรศึกษาข้อมูลในด้านนี้ประกอบด้วย

รายละเอียด

ต่างชาติกับกรรมสิทธิ์

กรรมสิทธิ์ต่างด้วถือครองอสังหาริมทรัพย์

การถือครองอสังหาริมทรัพย์คนต่างชาติที่จะสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจหรือการลงทุนที่สอดคล้องตามกฎหมาย นักลงทุนสามารถที่จะถือครองที่ดินได้ หากได้รับการส่งเสริมการลงทุน(BOI)หรือกรณีดำเนินธุรกิจ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมก็สามารถมีสิทธิถือครองที่ดินได้ หรือการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเช่าได้ไม่เกิน 30 ปี หรือการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ.2542 ซึ่งสามารถเช่าได้ไม่เกิน 50 ปี ความต้องการที่อยู่อาศัยที่มิใช่อาคารชุด คนต่างชาติสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2545 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ 1.นำเงินมาลงทุนในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี 2.ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3.ต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ 3.1 การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตธรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นหรือดอกเบี้ย 3.2 การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3.3 การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3.4 การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 4.ที่ดินที่คนต่างชาติจะได้มาต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณกำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร 5.คนต่างชาติผู้ได้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองและครอบครัวโดยไม่ขัดต่อศีลธรรม จารีตประเพณี หรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น 6.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าว กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะต้องจำหน่ายที่ดินในส่วนที่ตนมีสิทธิภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น 7.ถ้าคนต่างชาติซึ่งได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามนัยดังกล่าวไม่ได้ใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันจดทะเบียนการได้มา อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น นอกจากกรณีดังกล่าว คนต่างชาติอาจได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยได้รับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมได้ โดยที่ดินได้รับมรดกเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยมีได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรมไม่เกิน 1 ไร่ ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน10 ไร่ ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่ เป็นต้น สำหรับคนต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นคนสัญชาติไทยไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่เป็นคนสัญชาติไทยสามารถซื้อที่ดินได้โดยผู้ซื้อและคู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติจะต้องยืนยันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวหรือทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ซื้อที่มีสัญชาติไทย มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติสำหรับกรณีซึ่งมิใช่อาคารชุด ต้องมีเงื่อนไขผูกพันกับเรื่องของการลงทุนเป็นหลัก หากกรณีเป็นการเช่าโดยทั่วไป ก็สามารถเช่าตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ไม่เกิน 30 ปี สำหรับการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมปี 2542 ซึ่งเป็นการเช่าที่มีระยะเวลาเกินกว่า 30 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี ก็มิได้ครอบคลุมถึงเช่าเพื่อการอยู่อาศัย แต่หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้ครอบคลุมถึงการเช่าเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน50 ปีด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อคนต่างชาติและคนไทยในเรื่องระยะเวลาการเช่าเกินกว่า 30

รายละเอียด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

มีเกณฑ์ให้พิจารณา 2 ข้อครับ ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ คำถามแรกที่เราต้องถามก็คือ ประเภทการประกอบธุรกิจของเรานั้นได้รับสิทธิยกเวันภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับสิทธิยกเว้นก็แปลว่าไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่ไม่ได้ตัดสิทธิในการขอขึนทะเบียน ธุรกิจเรามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ คำถามต่อมาก็คือ ถ้าหากเราไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แล้วธุรกิจของเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ในระหว่างรอบบัญชีที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก้อาต้องรีบขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไปครับ [su_shadow style=”right”][su_panel shadow=”none”]กรมสรรพากรขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะส่งผลทำให้ภาพรวมของการบริโภคและ การลงทุนของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงยิ่งขึ้น นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การขยายเวลา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดิมร้อยละ 7 ดังกล่าวข้างต้นกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 โดยให้ยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ส่วนการที่ระบุว่าเป็นการลดอัตราภาษีลงมานั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 9 และภาษีท้องถิ่น ร้อยละ 1) จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงมาที่อัตราร้อยละ 7 รวมภาษี ท้องถิ่นดังกล่าว[/su_panel][/su_shadow] ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ส านักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ.2560

รายละเอียด

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

tax rate for thai corporate

หน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จำเป็นต้องทราบว่าฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลหมายรวมถึงอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายภาษีอากร โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลคือ จำนวนเงินกำไรที่จะนำมาใช้เพื่อคูณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในความเป็นจริงฐานภาษีมีหลายลักษณะ ฐานภาษีที่ต่างกัน ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี และอัตราภาษีตามฐานภาษีเหล่านั้นยังมีรายละเอียดที่ต่างกันไปด้วย โดยทั่วๆไปที่เรามราบ ณ ปัจจุบัน กำไรสุทธิ อัตราภาษี% ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15 เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป 20 อธิบายรายละเอียดในแต่ฐานภาษี ได้ดังนี้ 1.ฐานกำไรสุทธิ เป็นฐานภาษีที่สำคัญเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นฐานที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุด จำแนกรายละเอียดเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่ 1.2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่ามีสาขาอยู่ในหรือนอกประเทศ จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.3 กิจการที่ดำเนินงานเป็นทางการค้า หรือหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.4 กิจการร่วมค้า 1.2 การคำนวณกำไร กำไรสุทธิที่คำนวณได้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำไรสุทธิทางภาษีอากร คือ คำนวณจากรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี รายได้และรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ รายได้และรายจ่าย (ที่เกี่ยวกับรายได้) เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินในรอบบัญชีนั้น ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีนั้น 1.3 อัตราภาษี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลทั่วไปที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 เว้นแต่จะรัฐบาลจะออกมาตรการทางภาษีตามสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น เช่นหลายปีที่ผ่านมาดังนี้ สำหรับปีบัญชี 2558 อัตราภาษีเป็นดังนี้ 1.4 การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ดังนี้ 1.4.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบปี จะต้องยื่นแสดงแบบรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.

รายละเอียด

การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม

จัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคมจัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคม

หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ (3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร (4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ (2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่ (3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ 4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ 5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ 6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ 7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ 8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ)

รายละเอียด

เตรียมตัวทำหนังสือเดินทาง

ลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า

ทุกวันนี้เราสามารถจองคิวทำหนังสือเดินทางได้แล้วและประหยัดเวลาในการรอคอยด้วยการใช้ ลงทะเบียนรับบริการหนังสือเดินทาง การลงทะเบียนขอรับบริการหนังสือเดินทางล่วงหน้า คือบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ต้องการทำหนังสือเดินทางซึ่งเป็นบริการออนไลน์ 24 ชั่วโมงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีบริการดังนี้ แสดงสถิติการทำหนังสือเดินทางย้อนหลัง 5 วัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกวันที่จะมาใช้บริการ แสดงจำนวนคิว ณ เวลาปัจจุบันของแต่ละสาขาและประมาณเวลาที่จะได้รับบริการทำหนังสือเดินทาง แสดงที่ตั้งสำนักงานหนังสือเดินทาง เส้นทาง และเวลาในการเดินทางไปยังสำนักงานหนังสือเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถจองคิวและลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางได้ล่วงหน้า และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้จนถึง 23:00 น. ของวันก่อนวันขอรับบริการหนังสือเดินทาง สามารถกำหนดวิธีการรับเล่มหนังสือเดินทางได้ด้วยตัวเอง สามารถตรวจสอบสถานะของหนังสือเดินทางที่ได้ยื่นขอไว้ได้ทุกสำนักงานฯ วิธีลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทาง เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียนขอรับบริการไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียนของท่านจะถูกยกเลิก กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถใช้บริการลงทะเบียนล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเองและเป็นข้อมูลจริงเท่านั้น ท่านต้องเตรียมเอกสาร – หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร – หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการยื่นคำร้องหนังสือเดินทางของท่าน เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทางเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2) วิธีการลงทะเบียนยื่นขอหนังสือเดินทางล่วงหน้า ลงทะเบียนทำหนังสือเดินทางแบบธรรมดาhttps://www.passport.in.th/eService/

รายละเอียด

ยื่นงบการเงิน2560

คู่มือยื่นงบการเงิน 2560

คู่มือยื่นงบการเงิน 2560 แบบประกอบการยื่นงบการเงิน แบบกรอก แบบนำส่งงบการเงิน ส.บช.3 แบบพิมพ์ แบบ สบช. 3 (.pdf), แบบพิมพ์ สบช. 3/1  แบบแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้น แบบ บอจ. 5 (.pdf) แบบแสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นมหาชน แบบ บมจ. 006 (.pdf)  หนังสือนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น  ตารางอัตราเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2599 ดาวน์โหลดอัตราเปรียบเทียบความผิด กรณีงบการเงิน

รายละเอียด
โทรสอบถาม