เบี้ยปรับเงินเพิ่มค่าปรับอาญา

เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม-ค่าปรับอาญา เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม-ค่าปรับอาญา
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30 (ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน)
- กำหนดการยื่นแบบ ภพ.30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
- กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
- คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
- กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จะเสียแต่ค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบเท่านั้น
3. เบี้ยปรับ การเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือ
- กรณียื่นแบบเพิ่มเติม (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ
- กรณีไม่เคยยื่นแบบมาก่อน (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายก็เลยไม่ยื่น)
3.1กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% - 20%
- ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
- ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
- ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
- ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%
หมายเหตุ
1. ถ้ามีภาษีซื้อที่ลืมยื่นไม่สามารถนำมาหักออกได้นะคะ แต่สามารถนำมาขอคืนภาษีได้ตามปกติ ที่จริงไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมก็ได้ เพราะเราสามารถนำมายื่นขอคืนได้ในเดือนถัดไปอยู่แล้ว (ไม่เกิน 6 เดือน)
2. กฎหมายระบุไว้ว่าให้นำภาษีที่ต้องชำระคูณ 1 เท่า แต่ไม่ต้องไปคูณก็ได้เพราะตัวเงินก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว
3.2กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน
- ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
- ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
- ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
- ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
หมายเหตุ
ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
4. การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ
ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีที่วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันที่ 17
ตัวอย่างเช่น ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มีวัน 31 วัน วันครบกำหนดชำระภาษี ถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อน คือชำระในวันที่ 13 ถ้าไปชำระหลังวันที่ 14 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย ขยับจาก 5% ไปเป็น 10% แทน
อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนมาจ่ายวันจันทร์แทน) และเป็นเดือนที่มีวัน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไป
หมายเหตุ วันหยุดให้ดูที่วันหยุดราชการ ก็คือสรรพากรหยุด การนับวันถึงจะเลื่อนออกไป

เครดิตข้อมูลอ้างอิงจากคุณณัทปภา  นนเดชพันธ์

โทรสอบถาม