ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542 1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป 2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว 1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 1.1 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ 750 ภาษีที่ต้องชำระ 250 เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 250 X 1.5% ต่อเดือน เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) 250 X 2 เท่า 1.2 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน ภาษีขาย (บาท) 1,000 ภาษีซื้อ 1,750 ภาษีที่ต้องชำระ 0 ภาษีที่ชำระไว้เกิน (750) เงินเพิ่ม มาตรา 89/1 ไม่มี เบี้ยปรับ มาตรา 89(2) ไม่มี 2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด 2.1 แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ แบบ ภ.พ. 30 ความถูกต้อง ผลต่าง ภาษีขาย (บาท) 1,000 1,600 600 ขายขาด ภาษีซื้อ 750
Category: tax
fines tax,value added tax,tax announcement เงินเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม,ประกาศกฎหมายภาษี
อัตราภาษีบุคคลธรรมดา2559
ประกาศล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2559 ขยายระยะเวลาอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก 1 ปี ในรอบเงินได้ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2559
ยื่นขอภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบีย ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการด าเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารส านักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทน อยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การจดทะเบียน ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536 ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร เอกสารประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ
พรก.ยกเว้น2558
นิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นใน พรก.2558