ภาษีมูลนิธิ

ภาษีมูลนิธิ

ขอสรุปการเสียภาษีของมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลดังนี้ครับ 1.ถ้าได้รับการประกาศและขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาว่าเป้นองค์กรสาธารณกุศล ก้อได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องจัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิเหมือนเดิม 2.ถ้าเป็นมูลนิธิ ที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลธรรมดา ก้อมีหน้าที่จัดทำงบการเงิน+ยื่นแบบ ภงด.55และรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ แล้วการคำนวณภาษีจะต้องเสียอย่างไร? การทำหน้าที่รายเดือน ยื่นแบบ ภงด 3 ยื่นแบบ ภงด 53 ยื่นแบบ ภงด 1 การทำหน้าที่รายปีสิ้นสุดรอบบัญชี ปิดงบและนำส่งงบการเงินต่อกรมสรรพากรท้องที่ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภงด.55 ต่อกรมสรรพากรท้องที่ ยื่นแบบรายงานกิจกรรมมูลนิธิต่ออำเภอหรือเขตปกครองท้องที่ตามกฎระเบียบ อัตราภาษี มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายในอัตรา ดังนี้ (ก) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ค่าสิทธิ ค่านายหน้า เป็นต้น เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 (ข) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก่เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่น ๆ นอกเหนือจาก(ก) เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 .0 การคำนวณภาษี เมื่อมูลนิธิหรือสมาคมมีรายได้จากการประกอบกิจการจะต้องนำรายได้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นมาคำนวณภาษี โดยคำนวณจากรายได้ก่อนหักรายจ่าย คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ 10.0 หรือร้อยละ 2.0 แล้วแต่กรณี ผลที่ได้เป็นภาษีที่ต้องเสีย การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของมูลนิธิหรือสมาคม จะต้องคำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีเช่นเดียวกับ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตัวอย่างการคำนวณภาษี มูลนิธิ ก. มีรายได้จากการประกอบกิจการ และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในปี 2555 สมาคมมีรายได้ ดังนี้ (1) ค่าลงทะเบียน 50,000 บาท (2) เงินที่ได้รับจากการบริจาค 120,000 บาท (3) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 10,000 บาท (4) รายได้จากค่านายหน้า 20,000 บาท (5) รายได้จากการขายหนังสือ 10,000

รายละเอียด

เบี้ยปรับยื่นงบช้า

finecharge

รายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยการสรุปปิดงบการเงินตามรอบบัญชี และยื่นงบการเงิน ยื่นแบบ ภงด.50 ภายในกรอบเวลา 150 วัน กรอบเวลาการยื่นงบ งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น กรรมการบริษัทประชุมอนุมัติรับรองงบการเงินเมื่อวันที่ 19 มกราคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 17 กุมพาพันธ์ กรรมการบริษัทประชุมอนุมัติรับรองงบการเงินเมื่อวันที่ 22 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 เมษายน เบี้ยปรับยื่นงบช้าจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่อไปนี้ 1.กรมสรรพากร[ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52/55 และยื่นบัญชีงบการเงิน] บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งชำระภาษี (ถ้ามี) และยื่นบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (โดยต้องยื่นเป็นประจำทุกรอบระยะเวลาบัญชี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม) หากยื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลาดังกล่าวต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2559 ถือเป็นความผิดสองกระทง โดยให้เปรียบเทียบกำหนดค่าปรับ ตามมาตรา 3 ทวิ(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/52 กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 1,000 บาท กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา และเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 2,000 บาท มูลนิธิหรือสมาคม ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.55 กรณียื่นแบบฯ และยื่นบัญชีเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับกระทงละ 500 บาท กรณียื่นแบบฯ

รายละเอียด

หักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไหร่?

หักภาษี ณ ที่จ่ายใช้อัตราเท่าไหร่

เรื่องนี้อยากแนะนำให้เจ้าของธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ทำความเข้าใจไว้บ้างก้อจะเป็นประโยชน์ย่างยิ่ง เพราะเวลาเราจ่ายเงิน เช่นค่าจ้าง ค่าขนส่ง เงินเดือน ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาหรืออื่นๆหลายอย่างที่เกี่ยวโยงกับต้นทุนในการผลิต หรือการดำเนินงานหรือในส่วนของการบริหาร หากจ่ายส่วนนี้ออกไปโดยไม่มีการ หัก ณ ที่จ่าย อาจจะทำให้พลาดโอกาสในการนำค่าใช่จ่ายเหล่านี้ไปบันทึกบัญชีได้  ทำให้เงินสดรับต่ำกว่าความเป็นจริงมากและจะส่งผลถึงกระแสเงินสดในบัญชีที่อาจจะผิดพลาดได้สูงมาก   ดาวน์โหลดคู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย

รายละเอียด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

มีเกณฑ์ให้พิจารณา 2 ข้อครับ ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ คำถามแรกที่เราต้องถามก็คือ ประเภทการประกอบธุรกิจของเรานั้นได้รับสิทธิยกเวันภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าได้รับสิทธิยกเว้นก็แปลว่าไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ แต่ไม่ได้ตัดสิทธิในการขอขึนทะเบียน ธุรกิจเรามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่ คำถามต่อมาก็คือ ถ้าหากเราไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี แล้วธุรกิจของเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ในระหว่างรอบบัญชีที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก้อาต้องรีบขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทเป็นต้นไปครับ [su_shadow style=”right”][su_panel shadow=”none”]กรมสรรพากรขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกันว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมถึง เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะส่งผลทำให้ภาพรวมของการบริโภคและ การลงทุนของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงยิ่งขึ้น นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การขยายเวลา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดิมร้อยละ 7 ดังกล่าวข้างต้นกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 โดยให้ยังคงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 6.3 และภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ส่วนการที่ระบุว่าเป็นการลดอัตราภาษีลงมานั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 รวมภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 9 และภาษีท้องถิ่น ร้อยละ 1) จึงจำเป็นต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงมาที่อัตราร้อยละ 7 รวมภาษี ท้องถิ่นดังกล่าว[/su_panel][/su_shadow] ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหรือผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ส านักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ.2560

รายละเอียด

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

tax rate for thai corporate

หน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จำเป็นต้องทราบว่าฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลหมายรวมถึงอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายภาษีอากร โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลคือ จำนวนเงินกำไรที่จะนำมาใช้เพื่อคูณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในความเป็นจริงฐานภาษีมีหลายลักษณะ ฐานภาษีที่ต่างกัน ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี และอัตราภาษีตามฐานภาษีเหล่านั้นยังมีรายละเอียดที่ต่างกันไปด้วย โดยทั่วๆไปที่เรามราบ ณ ปัจจุบัน กำไรสุทธิ อัตราภาษี% ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้น เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท 15 เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป 20 อธิบายรายละเอียดในแต่ฐานภาษี ได้ดังนี้ 1.ฐานกำไรสุทธิ เป็นฐานภาษีที่สำคัญเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นฐานที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุด จำแนกรายละเอียดเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่ 1.2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่ามีสาขาอยู่ในหรือนอกประเทศ จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1.2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.3 กิจการที่ดำเนินงานเป็นทางการค้า หรือหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 1.2.4 กิจการร่วมค้า 1.2 การคำนวณกำไร กำไรสุทธิที่คำนวณได้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำไรสุทธิทางภาษีอากร คือ คำนวณจากรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี รายได้และรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ รายได้และรายจ่าย (ที่เกี่ยวกับรายได้) เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินในรอบบัญชีนั้น ถือว่าเป็นรายได้และรายจ่ายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีนั้น 1.3 อัตราภาษี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลทั่วไปที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 เว้นแต่จะรัฐบาลจะออกมาตรการทางภาษีตามสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น เช่นหลายปีที่ผ่านมาดังนี้ สำหรับปีบัญชี 2558 อัตราภาษีเป็นดังนี้ 1.4 การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ดังนี้ 1.4.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบปี จะต้องยื่นแสดงแบบรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.

รายละเอียด

การเสียภาษีเงินได้มูลนิธิและสมาคม

จัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคมจัดทำบัญชี-ยื่นแบบภาษ๊-ยื่นแบบนำส่งประกันสังคม

หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ (3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร (4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10.3) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ (2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่ (3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ 4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ 5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ 6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ 7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ 8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ)

รายละเอียด

Fake Tax Invoice

Fake Tax Invoice

ในฐาณะผู้ประกอบการSME เล็กๆรายหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับกรณีใบกำกับภาษีปลอมที่กำลังแพร่ระบาดอย่างน่ากลัว เราต้องย้ำกับผู้ดูแลบัญชีของเราด้วยว่า อย่าละเลยกับการ ตรวจสอบสถานะVATของบิลคู่ค้า ที่นำมาบันทึกรายการภาษีซื้อ-ขายของเราอย่างต่อเนื่อง เพราะเราจะไม่รู้ว่าวันใดวันหนึ่งกิจการของคู่ค้าเราจะเกิดปัญหาในกิจการหรือไม่ เช่น คู่ค้าทำผิดกฎหมายออกเอกสารใบกำกับภาษีปลอม หรือถูกถอดสิทธิออกจากผู้ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปก่อนหน้านั้นแล้วแต่ยังมาออกเอกสารต่อหลังจากถูกถอดสิทธิ คู่ค้าที่ยังมีสิทธิเป็นผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าที่ต้องการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดาวน์โหลดดูคู่มือตรวจใบกำกับภาษีปลอมได้ที่นี่เลยครับ

รายละเอียด

เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากทำธุรกิจแล้วไม่ได้ทำความเข้าใจไว้อาจจะเกิดความเสียหายต่อระบบกระแสเงินหมุนเวียนของธุรกิจได้ง่ายๆ ผมจะย่อบทสรุปมาให้ดังนี้ครับ กรณีแรก: กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือพูดง่ายๆว่า ค่อยจ่ายหรือรอก่อน สูตรคำนวน: ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = ยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ x 1.5 % ต่อเดือนของยอดเงินก่อนเบี้ยปรับ + 2 เท่ายอดเงินก่อนเบี้ยปรับ+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😳 หากจะเปรียบให้เห็นเป็นตัวเลขสมมติง่ายๆดังนี้ ภาษีบิลขายทั้งหมดในเดือน 7,500 บาท ภาษีบิลซื้อทั้งหมดในเดือน 1,250 บาท ภาษีขาย-ภาษีซื้อ = 7,500 – 1,250 เท่ากับ 6,250 บาทคือ ยอดเงินภาษี หากท่านปล่อยเวลาไปจ่ายเดือนถัดไปสมมติว่าหนึ่งเดือน 🙄 ยอดที่ปรากฎตอนที่นำส่งสรรพากรจะถูกคำนวณตามสูตรข้างบนนี้เลย ยอดเงินภาษี x 1.5 % ต่อเดือน(เรียกว่าเงินเพิ่ม)+ 2 เท่ายอดเงินภาษี (เรียกว่าเบี้ยปรับ)+เบี้ยปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท 😈 นั่นก้อคือ = 6250×1.5%+2×6250+500 ผลที่ออกมาคือ = 93.75 + 12500 + 500 เท่ากับต้องจ่ายทั้งหมดคือ 13,093.75 บาท กรณีที่สอง: กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อเลยกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม กรณีแรก. ไปแล้ว ต่อมาตกหล่นต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือสรรพากรประเมินตรวจสอบพบความผิด แบ่งย่อยเป็นกรณีที่ 1 คำนวนภาษีซื้อเกินหรือภาษีขายขาดไป ผลรวมทั้งสองรายการเรียกเป็น ตัวเลขคลาดเคลื่อน สูตรคำนวน:เงินเพิ่มภาษีที่ต้องนำส่ง ยอดที่ 1 คือ = 1.5 % ต่อเดือนของยอดตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 2 เท่าของตัวเลขคลาดเคลื่อน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อเกิน เบี้ยปรับ 1 เท่าxยอดภาษีซื้อขาด ยอดที่

รายละเอียด

คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีกิจการร้านทอง

คู่มือภาษีอากรสำหรับกิจการร้านทองเฉพาะกรณีโอนกิจการทั้งหมดจากบุคคลธรรมดาเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อให้การจัดทำบัญชีและการเสียภาษีอากรเป็นไปอย่างมีระบบ ถูกต้องครบถ้วน และเป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มธุรกิจ ดูรายละเอียด

รายละเอียด
โทรสอบถาม