ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบีย ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการด าเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับ บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้าง โรงงาน ก่อสร้างอาคารส านักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทน อยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ การจดทะเบียน ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536 ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร เอกสารประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ
Category: Resources
Resources – รวมสาระน่ารู้สำหรับ SME
ศัพท์ทะเบียนธุรกิจ
รวมคำศัพท์สำหรับงานทะเบียนธุรกิจที่ เจ้าของกิจการควรทราบและทำความเข้าใจ
ขอเครื่องหมาย มอก
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดบังคับ หรือไม่บังคับ ต้องศึกษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจ ซึ่งรายการมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม www.tisi.go.th และหนังสือมาตรฐาน ม.อ.ก ต่างๆ สามารถหาซื้อไดที่สำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม – ผลิต ภันฑ์ที่ต้องการใช้ตรา ม.อ.ก จะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตควรทำการทดสอบเบื้องต้นตามวิธีการมาตรฐาน เมื่อแน่ใจว่าผ่านแล้วจึงดำเนินการ ขอใช้ตรา ม.อ.ก ผู้ผลิตสามารถจัดการทดสอบเบื้องต้นเอง (บุคลากร + เครื่องมือทดสอบ + วิธีการทดสอบ พร้อม) หรืออาจใช้บริการหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบที่มีความสามารถตามมาตรฐานนั้นๆ (ดูได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรมในหมวดการรับรองห้อง ปฏิบัติการ www.tisi.go.th ) – นอกจากผลิตภันฑ์ต้องผ่านการทดสอบแล้ว สถานที่ผลิต ขบวนการการผลิต จะต้องถูกตรวจสอบด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อตรวจระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การตรวจรับวัตถุดิบ ⇒การจัดเก็บวัตถุดิบ⇒ขั้นตอนการผลิต⇒การควบคุมการผลิต⇒การตรวจคุณภาพในขบวนการผลิต⇒การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ⇒การบรรจุภัณฑ์ การอบรมบุคลากร การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในขบวนการผลิต
พรก.ยกเว้น2558
นิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิยกเว้นใน พรก.2558
บัญชีชุดเดียว
บัญชีชุดเดียว ต้องมีหลักอย่างไรบ้าง ดูบทสรุปจากการอบรมสัมนา