ตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI แตกต่างกันอย่างไร?

ตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI แตกต่างกันอย่างไร?

SET ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป MAI เป็นแหล่งระดมทุนของธุรกิจที่มีศักยภาพขนาดกลางและเล็ก ซึ่งมีทุนชำระแล้วหลัง IPO ตั้งแต่ 20 ล้านขึ้นไป

รายละเอียด

“Agile” คืออะไร?

แนวคิดการบริหารงานแบบ agile

การประยุกต์ใช้ Agile ต้องอาศัยมุมมอง และวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ของผู้บริหาร เพราะเป็นแนวคิดที่เน้นให้เกิดงานแบบทีมเล็กๆ ที่แข็งแกร่ง อาจไม่เหมาะกับองค์กรใหญ่ที่มีทีม และแบ่งเป็นแผนกๆ ใหญ่ๆ ก็เป็นได้

รายละเอียด

ค่ารับรอง

entertainment expense

การบันทึกค่าใช้จ่ายค่ารับรอง หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 ค่ารับรองนั้นไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์ของค่ารับรอง เป็นค่ารับรองอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีธุรกิจทั่วไป บุคคลซึ่งได้รับการรับรองต้องมิใช่ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผู้จัดการของกิจการ เว้นแต่มีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองนั้นด้วย ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรองที่จะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการจริง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับรอง แบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่นค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกีฬา ค่าสิ่งของ มูลค่าของค่ารับรอง ค่ารับรองตามข้อ 4(1),(2) กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนเงินว่า การรับรองในแต่ละครั้งต้องไม่เกินจำนวนเงินเท่าใด หน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องพิสูจน์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อได้ว่า มีการรับรองจริง และจำนวนเงินที่จ่ายพอสมควรแก่การรับรองดังกล่าว ค่ารับรองตามข้อ 4(3) สิ่งของ กฎหมายจำกัดจำนวนเงินไม่เกินคนละ 2,000 บาทต่อครั้ง หากค่ารับรองไม่ถึง 2,000 บาท จะถือเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง และหากจ่ายเกิน 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ ยอดขาย งินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ข้อสังเกต : รายได้อื่น เป็นรายได้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบธุรกิจอันเป็นผลพลอยได้จากการประกอบกิจการ เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน สิ่งที่ต้องระมัดระวัง หากกิจการคำนวณค่ารับรองจากยอดรายได้ รายได้ที่จะนำมาคำนวณค่ารับรองได้นั้นจะต้องหักรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน เช่น เงินปันผล รายจ่ายที่นำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ค่ารับรองที่กิจการได้จ่ายไปในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของยอดรายได้ หรือยอดขาย หรือเงินทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้จำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ภาษีซื้อของค่ารับรอง ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามนำไปหักออกจากภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (ุ6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร

รายละเอียด
โทรสอบถาม