Finance&Leasing

Finance&Leasing

Leasing

สัญญาลีสซิ่ง คู่สัญญามุ่งที่จะใช้หรือให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ผู้เช่าสามารถเลือกว่า
จะต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในท้ายที่สุดหรือไม่ก็ได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ
สัญญาเช่าการเงิน (Financial Lease) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552)ได้ให้ความหมายของสัญญาเช่าการเงินไว้ว่า เป็นสัญญาที่โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า จากความหมายดังกล่าวสรุปเป็นสัญญาเช่าการเงินได้ดังนี้

1. เป็นสัญญาเช่าระยะยาว ที่ผู้เช่ามีฐานะเป็นเสมือนเจ้าของสินทรัพย์
2. มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากทรัพย์สินให้แก่ผู้เช่า

3. เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังคงเป็นของผู้ให้เช่า ผู้เช่าเลือกซื้อสินทรัพย์ที่เช่านั้นหรือไม่ก็ได้ ในการเลือกซื้อ ราคาที่จะซื้อมักต่ำกว่าราคายุติธรรมของสินทรัพย์นั้น ณ วันที่สิทธิการเลือกซื้อมีผลบังคับใช้ ในกรณีที่ไม่เลือกซื้อสินทรัพย์นั้น ผู้เช่าจะต้องส่งมอบสินทรัพย์นั้นคืนแก่ผู้ให้เช่า ในกรณีที่เป็นการเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์จะตกเป็นของผู้เช่า เมื่อผู้เช่า ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อตามเงื่อนไขทุกประการ

4. โดยทั่วไปสัญญาเช่ามักจะให้ผู้เช่าประกันความเสียหายและผู้เช่าจะต้องเสียค่าบำรุงสินทรัพย์ที่เช่าเอง ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าไม่ได้ทางด้านผู้เช่าและด้านผู้ให้เช่าและการแสดงในงบดุล

สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) คือ สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาเช่าการเงินหรืออีกนัยหนึ่ง สัญญาเช่าดำเนินงาน คือสัญญาเช่าที่ไม่ได้มีการโอนความเสี่ยง และผลตอบแทนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า แสดงว่าผู้เช่าย่อมไม่ใช่เจ้าของสินทรัพย์ที่เช่านั้น ดังนั้น เนื้อหาของสัญญาเช่าดำเนินงาน คือการเช่าขณะที่เนื้อหาของสัญญาเช่าการเงิน คือการซื้อสินทรัพย์ จากความหมายของสัญญาเช่าดำเนินงาน สามารถสรุปลักษณะสัญญาของสัญญาเช่าดำเนินงานได้ดังนี้

1. เป็นสัญญาเช่าที่ผู้เช่าไม่ได้มุ่งหวังจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์เหนือสินทรัพย์นั้น
2. อายุของสัญญาเช่ามักจะสั้น กว่าอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าอาจจะนำสินทรัพย์นั้นไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้อีก
3. ในการบำรุงรักษาสินทรัพย์ที่เช่า หรือการซ่อมแซมสินทรัพย์ที่เช่า เป็นความรับผิดชอบของผู้ให้เช่า
4. ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญานั้นก่อนกำหนดได้หากเห็นว่าสินทรัพย์ที่เช่านั้นหมดประโยชน์ลง

นี่ก็อาจจะเป็นเพียงความรู้เรื่องลีสซิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่นำมาฝาก เพื่อให้ได้พอมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลีสซิ่งเผื่อว่าจะมีการเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไป

Finance

สัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญามุ่งที่จะใช้หรือให้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและต้องการโอนกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของให้แก่กัน
สินเชื่อการเช่าซื้อ (Hire Purchase) จะมีหลักการคล้ายกับการซื้อสินค้าแบบเงินผ่อน แต่ต่างกันตรงที่ว่าความเป็นเจ้าของหรือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นยังไม่เป็นของเราจนกว่าจะชำระค่าสินค้านั้นครบถ้วนแล้วตามกำหนดสัญญาที่ทำไว้ แต่เราสามารถนำสินค้านั้นไปใช้ได้ก่อนในขณะที่มีการผ่อนชำระค่างวดตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญา ในที่นี้ถ้าเป็นรถยนต์ ก็หมายความว่า เราจะสามารถนำรถยนต์ไปใช้ได้ก่อนในขณะที่มีการผ่อนชำระค่างวดอยู่ และเมื่อจ่ายค่างวดจนครบถ้วน เราจึงจะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของได้อย่างสมบูรณ์

ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับสูงสุดในแต่ละโปรแกรม บริษัท Aทำลีสซิ่ง บริษัท Bทำเช่าซื้อ บริษัท Cซื้อเงินสด ลิสซิ่งได้ประโยชน์มากกว่าเช่าซื้อ / เงินสด
ค่าใช้จ่ายที่หักได้ต่อเดือน 36,000 16,667 16,667 19,333
ค่าใช้จ่ายที่หักได้ต่อปี 432,000 200,000 200,000 232,000
ค่าใช้จ่ายที่หักได้ 5 ปี 2,160,000 1,000,000 1,000,000 1,160,000
ภาษีที่ประหยัดได้ 30% 648,000 300,000 300,000 348,000
การหักค่าเสื่อมราคากรณีซื้อคืน 100,000 ไม่มี ไม่มี -
ภาษีที่ประหยัดได้ 30% 300,000 ไม่มี ไม่มี 300,000
ลีสซิ่งประหยัดภาษีได้มากกว่า 948,000 300,000 300,000 648,000
โทรสอบถาม