การติดอากรแสตมป์ในสัญญมีอัตราที่แตกต่างกันไป
บัญชีอัตราอากรแสตมป์
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
เรื่อง กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร สำหรับตราสารบางลักษณะ
ข้อ 2 (3) จ้างทำของ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อ 3 วิธีเสียอากรเป็นตัวเงิน
(3) สำหรับตราสารตามข้อ 2(3) ให้ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงิน แทนการปิดแสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวัน กระทำตราสารนั้น
http://www.rd.go.th/publish/3433.0.html
ลักษณะแห่งตราสาร |
ค่าอากรแสตมป์ |
ผู้ที่ต้องเสียอากร |
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ |
1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า หมายเหตุ (1) ถ้าสัญญาเช่ามิได้กำหนดอายุการเช่าให้ถือว่ามีกำหนด 3 ปี (2) ถ้าสัญญาเช่าฉบับใดครบกำหนดอายุการเช่า หรือครบกำหนด 3 ปี ตาม (1) แล้วผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่และให้ผู้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหม่ ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทำกันใหม่ โดยไม่มีกำหนดอายุการเช่า และต้องเสียอากรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหม่นั้น ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร เช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน |
1 บาท | ผู้ให้เช่า | ผู้เช่า |
2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ก. โอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย ข. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก |
1 บาท | ผู้โอน | ผู้รับโอน |
3. เช่าซื้อทรัพย์สิน ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งราคาทั้งหมด ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร เช่าซื้อทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน |
1 บาท
|
ผู้ให้เช่า |
ผู้เช่า |
4. จ้างทำของ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ หมายเหตุ (1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น (2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน (3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 ได้ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร s สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย |
1 บาท |
ผู้รับจ้าง |
ผู้รับจ้าง |
5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้ เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) |
1 บาท | ผู้ให้กู้ | ผู้กู้ |
“ 6. กรมธรรม์ประกันภัย (ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุก 250 บาท หรือเศษของ 250 บาท แห่งเบี้ยประกันภัย (ข) กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย (ประกาศคณะปฎิวัติ (ฉบับที่ 155) ใช้บังคับ 7 มิ.ย.2515 เป็นตันไป ข้อ 7 กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์สำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต ถ้ามีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท) (ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ๆ ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกัน (ง) กรมธรรม์เงินปี ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาง แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่ปรากฏต้นทุนให้คิดทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ประจำปี (จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง (ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม (ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยต้วจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เสียก่อน เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) |
1 บาท
1 บาท 1 บาท 1 บาท 1 บาท |
ผู้รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย |
ผู้รับประกันภัย
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย |
“ 7. ใบมอบอำนาจ คือ ใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ (ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน การทำการครั้งเดียว (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ หมายเหตุ ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งตามมาตรา 108 ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล (2) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์หาหนะ (3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน (4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ |
10 บาท 30 บาท |
ผู้มอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจผู้มอบอำนาจ |
ผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ |
8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท (ก) มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว (ข) มอบฉันทะสำหรับการประชุมกว่าครั้งเดียว” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
20 บาท |
ผู้มอบฉันทะ |
ผู้มอบฉันทะ |
“ 9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ (2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ๆ ไม่ต้องปิดอีก แต่ตัองสลักหลังฉบับนั้น ๆ ไว้ว่า“ ได้เสียอากรแลัว ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
3 บาท 3 บาท |
ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว |
ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว |
“ 10. บิลออฟเลดิง หมายเหตุ ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ |
2 บาท |
ผู้กระทำตราสาร |
ผู้กระทำตราสาร |
11. (1) ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) (2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย ทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของ 100 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์ |
5 บาท 1 บาท |
ผู้ทรงตราสาร ผู้ทรงตราสาร |
ผู้ทรงตราสาร” ผู้ทรงตราสาร |
12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค ฉบับละ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
3 บาท |
ผู้สั่งจ่าย |
ผู้สั่งจ่าย ” |
“ 13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
5 บาท |
ผู้รับฝาก |
ผู้รับฝาก ” |
“ 14. เลตเตอร์ออฟเครดิต (ก) ออกในประเทศ – เงินต่ำกว่า 10,000 บาท – เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป (ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินในประเทศไทย คราวละ หมายเหตุ ตราสารเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศไทย และให้ชำระเงินในต่างประเทศ ต้องทำสำเนาเก็บไว้ในประเทศไทย ส่วนการเสียอากรให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เฉพาะในฉบับสำเนาดังกล่าวนั้น ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
20 บาท 20 บาท |
ผู้ออกตราสาร ผู้ทรงคนแรก |
ผู้ออกตราสาร ผู้ทรงคนแรก |
“ 15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง (ก) ออกในประเทศ ฉบับละ (ข) ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
3 บาท |
ผู้ออกเช็ค |
ผู้ออกเช็ค |
“ 1 6. ใบรับของ ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง ฉบับละ หมายเหตุ ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) |
1 บาท |
ผู้ออกใบรับ |
ผู้ออกใบรับ |
“ 17. ค้ำประกัน (ก) สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ (ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท (ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม (ข) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
10 บาท
|
ผู้ค้ำประกัน
|
ผู้ค้ำประกัน
|
“ 18. จำนำ จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท ถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย (ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5 |
1 บาท |
ผู้รับจำนำ |
ผู้รับจำนำ |
19. ใบรับของคลังสินค้า |
1 บาท |
นายคลังสินค้า |
นายคลังสินค้า |
20. คำสั่งให้ส่งมอบของ คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฎในตราสารนั้น (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) |
1 บาท | ผู้ออกคำสั่ง | ผู้ออกคำสั่ง ” |
“ 21. ตัวแทน (ก) มอบอำนาจเฉพาะการ (ข) มอบอำนาจทั่วไป ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการ ” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
10 บาท |
ตัวการ |
ตัวการ |
“ 22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ (ก) ในกรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท (ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) |
1 บาท 10 บาท |
อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ |
อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ |
“ 23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร คือ ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ (ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท (ข) ถ้าเกิน 5 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์” (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
1 บาท 5 บาท |
(1) ถ้าไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย |
คนเดียวกับผู้ขีดฆ่า |
“ 24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน |
200 บาท |
ผู้เริ่มก่อการ |
ผู้เริ่มก่อการ |
25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน |
200 บาท |
กรรมการ |
กรรมการ |
26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน | 50 บาท | กรรมการ | กรรมการ |
27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน (ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
100 บาท |
ผู้เป็นหุ้นส่วน |
ผู้เป็นหุ้นส่วน |
“ 28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้ (ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล (ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย (ดูประกาศอธิบดี เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)) (ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 27/2537) (ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยางพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ ถ้าใบรับตาม (ก)(ข) หรือ (ค) มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาทหรือเศษของ 200 บาท (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป) |
1 บาท |
ผู้ออกใบรับ |
ผู้ออกใบรับ |
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) | |||
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) |
ตารางแบบการยื่นขอเสียภาษีอากรเป็นตัวเงิน
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 6(11) ค่าอากรแสตมป์ที่มีจำนวนไม่ถึง 1 บาทหรือเศษของบาท ได้รับการยกเว้นอากร ) |